engagement คือ อะไร ยอด engagement rate สำคัญอย่างไร
Engagement คืออะไรกันแน่ มีความสำคัญอย่างไรในการทำการตลาด ทำไมเราต้องรู้จัก engagement และเรียนรู้การสร้าง engagement ถ้าเราสร้าง engagement ได้แล้วจะส่งผลดีต่อธุรกิจของเราได้อย่างไร ในบทความนี้เราจะพาคุณไปทำความรู้จักว่า Engagement คือ อะไร การมีส่วนร่วมในธุรกิจผ่านช่องทาง social media ต่างๆ อย่างเช่น Facebook Engagement จะส่งผลดีต่อธุรกิจของคุณได้มากแค่ไหน นอกจาก Engagement ภายนอกกับลูกค้าแล้วยังมี Engagement ภายในบริษัทอีกด้วย ทั้ง 2 ประเภทนี้ต่างกันอย่างไร เรารวมทุกคำตอบไว้ให้คุณแล้ว
engagement คืออะไร
Engagement คือ ยอดการมีส่วนร่วมของลูกค้าที่มีต่อแบรนด์ของเรา ไม่ว่าจะจากโฆษณา หรือคอนเทนต์เนื้อหาให้ความรู้ต่างๆ ที่เราเผยแพร่บนแพลตฟอร์มออนไลน์ โดยยอด Engagement ก็อาจมีได้ทั้ง Engagement ทางบวกและ Engagement ทางลบ ขึ้นอยู่กับว่าคอนเทนต์ของเราทำออกมาแบบไหน แล้วตอบโจทย์ลูกค้าอย่างไร ตัวอย่างของ Engagement ทางบวกหรือ Positive Engagement คือการที่ลูกค้าหรือ user บนโลกออนไลน์กด like กด share กดแสดงอารมณ์ร่วม และ comment แสดงความคิดเห็นต่อเนื้อหา ส่วน Engagement ทางลบ หรือ Negative Engagement คือการที่ลูกค้าหรือ user บนโลกออนไลน์กด report เนื้อหา หรือกดซ่อนโพสต์เป็นต้น โดยการมีส่วนร่วมทั้ง 2 แบบนี้ สามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อการวางแผนการตลาดที่ดีและปรับปรุงคอนเทนต์เนื้อหาของเราต่อไปได้ในอนาคต
Engagement เกร็ดน่ารู้สำหรับการทำธุรกิจ
Engagement คือกลยุทธิ์ทางการตลาดที่สำคัญต่อการทำธุรกิจอย่างมาก เพราะจะช่วยให้ลูกค้ามีปฏิสัมพันธ์ใกล้ชิดกับแบรนด์มากยิ่งขึ้น นำไปสู่การเปิดใจ การพูดคุย และการแชร์เนื้อหาของแบรนด์ออกไปสู่โลกออนไลน์ หรือในบางครั้งลูกค้าอาจเป็นผู้แนะนำแบรนด์เองให้กับวงสังคมของลูกค้าได้อีกเช่นกัน จึงทำให้เนื้อหาคอนเทนต์ของแบรนด์เข้าสู่กลุ่มลูกค้าที่หลากหลายและกว้างขวางมากยิ่งขึ้น เรียกได้ว่า Engagement คือการทำให้เราเป็นที่รู้จักมากขึ้นและเพิ่มโอกาสการได้ลูกค้าเพิ่มขึ้นนั่นเอง
นอกจากนี้การสร้าง engagement คือ การทำให้เราได้รับ feedback โดยตรงกลับมาจากลูกค้าว่าคอนเทนต์หรือโฆษณาที่เราทำไปดีพอแล้วหรือยัง สามารถปรับปรุงแก้ไขพัฒนาเพิ่มเติมตรงไหนได้บ้าง ช่วยให้เราวางแผนการตลาดในอนาคตได้เจาะกลุ่มเป้าหมายชัดเจนมากยิ่งขึ้น หรืออาจช่วยให้เราวางแผนเปิดกว้างไปยังกลุ่มลูกค้าอื่นๆ ได้อีกจากการวิเคราะห์ตัวเลขสถิติข้อมูลที่เราได้จาก engagement จึงเรียกได้ว่า Engagement จะช่วยทำให้แบรนด์ของคุณเข้าสู่กลุ่มลูกค้าที่หลากหลาย และยังช่วยสร้าง loyalty ในกลุ่มลูกค้าเดิมอีกด้วย
Facebook Engagement หมายถึงอะไร
Facebook Engagement คือการมีส่วนร่วมของผู้คนบนแพลตฟอร์ม Facebook ต่อเนื้อหาคอนเทนต์ของคุณไม่ว่าจะเป็น post, รูปภาพ หรือวิดีโอ ซึ่งสามารถมีส่วนร่วมได้หลายรูปแบบ เช่น การกดไลก์, การกดแชร์, การคอมเมนต์แสดงความคิดเห็น, การกด reaction แสดงอารมณ์, การกดซ่อนโพสต์, การกดรายงานโพสต์ โดย Engagement เหล่านี้เป็นเหมือนกระจกสะท้อนให้คุณเห็นภาพว่าผู้คนรู้สึกอย่างไรต่อคอนเทนต์ของคุณ ได้รับการตอบรับที่ดีหรือไม่ ควรจะวางแผนการตลาดไปในทิศทางไหนต่อ ถ้ามีการตอบรับที่ดี มียอด positive engagement เยอะ ก็อาจเป็นสัญญาณว่า เนื้อหาคอนเทนต์บน Facebook ของเราตัวนี้สามารถไปต่อได้ และเป็นแนวทางการทำคอนเทนต์ในอนาคต ในทางกลับกันหากเนื้อหาคอนเทนต์บน Facebook ของเราได้รับ negative engagement เราอาจต้องปรับปรุงคอนเทนต์ใหม่ให้ดียิ่งขึ้นตามผลตอบรับของลูกค้าบน Facebook นั่นเอง
Employee Engagement หมายถึงอะไร
Employee Engagement คือความผูกพันของพนักงานต่อองค์กรที่สังกัดหรือทำงานอยู่ ซึ่งจะแตกต่างจากกลยุทธิ์การทำการตลาดอย่าง Engagement หรือ Facebook Engagement เพราะการทำ Employee Engagement ไม่ได้มีส่วนโดยตรงในการเพิ่มยอดขาย และไม่ได้เป็นการสื่อสารกับลูกค้าแต่อย่างใด ทว่าเป็นการสร้างแรงบันดาลใจและเสริมกำลังใจให้แก่พนักงานเพื่อให้พนักงานทำงานให้กับองค์กรอย่างเต็มที่ และสร้างผลประโยชน์ให้แก่องค์กรนั่นเอง ดังนั้นในกรณีที่คุณต้องการจะทำ Engagement ที่เป็นกลยุทธิ์ทางการตลาด ขอให้เข้าใจไว้ก่อนเลยว่า Employee Engagement ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องเลยแม้แต่น้อย เพียงแค่มีคำว่า Engagement เหมือนกันเท่านั้นเอง
วิธีการทำ Engagement Marketing
1.กำหนดกลุ่มเป้าหมาย
การกำหนดกลุ่มเป้าหมายเพื่อการทำ Engagement มีได้หลายวิธีด้วยกัน แต่หนึ่งในวิธีที่คนนิยมทำมากๆ คือการทำ Buyer Persona หรือการกำหนดกลุ่มเป้าหมายโดยการสร้างตัวตนเพื่อเป็นการจำลองว่าลูกค้าของคุณจะมีทัศนคติอย่างไร ชื่นชอบสินค้าหรือคอนเทนต์เนื้อหาประเภทไหน มีทั้งความคาดหวังในด้านบวกของลูกค้าที่มีต่อสินค้าของคุณ และความคาดหวังในด้านลบอย่างปัญหาที่ลูกค้าของคุณต้องการหลีกเลี่ยง ซึ่งเมื่อคุณกำหนดกลุ่มเป้าหมายโดยการสร้าง Buyer Persona ไว้แล้วก็จะนำไปสู่การวางแผนกลยุทธิ์ engagement ที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพนั่นเอง
2.สร้าง Brandvoice
การสร้าง brandvoice คือการกำหนดภาพลักษณ์แบรนด์ที่คุณต้องการให้บุคคลภายนอกมองเห็น ไม่ว่าจะเป็นการใช้น้ำเสียงสื่อสารในเนื้อหาคอนเทนต์ต่างๆ สไตล์การเขียน รูปแบบคอนเทนต์ เนื้อหาคอนเทนต์ที่คุณเลือกหยิบมาทำ ทุกอย่างสามารถส่งผลต่อภาพลักษณ์แบรนด์ได้ทั้งสิ้น ซึ่งจะนำไปสู่ภาพจำของลูกค้าที่มีต่อแบรนด์ของเรา และหากภาพลักษณ์แบรนด์ของคุณมีภาพลักษณ์ที่ดีและตรงใจต่อกลุ่มเป้าหมายแล้วละก็ จะทำให้ลูกค้ามี engagement กับคอนเทนต์ของเราได้ง่ายขึ้น รวมไปถึงอาจเป็นการทำให้ลูกค้าบางคนเกิด loyalty ต่อแบรนด์อีกด้วย
3.รวบรวมความคิดและสร้างคอนเทนต์
การรวบรวมความคิดและสร้างคอนเทนต์เป็นหนึ่งในกระบวนการหลักของการสร้าง Engagement โดยคุณจะต้องมีการนำข้อมูลกลุ่มเป้าหมายที่คุณกำหนดไว้และ brandvoice มารวมเข้าด้วยกัน เช่น หากธุรกิจของคุณมีกลุ่มเป้าหมายเป็นคนรุ่นใหม่ การใช้ภาษาในเนื้อหาของคุณอาจต้องมีศัพท์สมัยใหม่ทันเหตุการณ์ พูดจาเฟรนลี่ดูเข้าถึงได้ง่าย ในขณะที่หากกลุ่มเป้าหมายของคุณเป็นวัยผู้ใหญ่อาจเน้นความน่าเชื่อถือ พูดจาดูภูมิฐานและดูมีความเชี่ยวชาญเน้นแลกเปลี่ยนความรู้เป็นต้น โดยจะต้องควบคู่ไปกับภาพลักษณ์แบรนด์ของคุณนั่นเอง
4.ติดตามผล พัฒนาและปรับปรุง
การติดตามผล พัฒนาและปรับปรุงเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดอีกขั้นตอนหนึ่ง เพราะแม้ว่าเราจะสร้างคอนเทนต์ขึ้นมาโดยคำนึงถึงทั้งกลุ่มเป้าหมายและภาพลักษณ์แบรนด์ของเราแล้ว แต่บางครั้งกลุ่มเป้าหมายของเราหรือภาพลักษณ์แบรนด์ของเราอาจจะยังตอบโจทย์ไม่เพียงพอ หรือการวิเคราะห์จนเกิดการสร้างคอนเทนต์อาจจะยังไม่ตรงจุด ดังนั้นการที่เราติดตาม feedback จากยอด engagement จะช่วยให้เราเห็นภาพว่าควรแก้ไขหรือปรับปรุงไปในทิศทางไหน และพัฒนาได้ตอบโจทย์ลูกค้ามากที่สุดในอนาคต
วิธีการสำหรับธุรกิจในการสร้าง Engagement
การสร้าง Engagement เพื่อธุรกิจที่ดีประกอบไปด้วยหลายวิธีการ ตัวอย่างเช่น
- การทำข้อมูลให้เห็นภาพเข้าใจง่ายเพื่อให้เรารู้และวิเคราะห์ผล feedback จากยอด engagement ได้อย่างถูกต้องรวดเร็ว
- การเลือกช่องทางการโฆษณาหรือลงคอนเทนต์ที่เหมาะกับสินค้าของคุณมากที่สุดโดยคำนึงถึงกลุ่มลูกค้าเป็นหลัก
- การวิเคราะห์คู่แข่งเพื่อออกแบบคอนเทนต์ที่โดดเด่นแตกต่าง น่าสนใจ
- การวิเคราะห์ลูกค้าเพื่อสร้างคอนเทนต์ที่ตรงใจกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด
วิธีการเหล่านี้จะช่วยให้คุณสร้าง Engagement ที่ดีได้ไม่ว่าธุรกิจของคุณจะเป็นธุรกิจในรูปแบบใดก็ตาม โดยสิ่งสำคัญที่สุดคือการวิเคราะห์ข้อมูลที่เราได้รับมาเพื่อการวางแผนการตลาดที่รัดกุมและโดดเด่นนั่นเอง
สรุป
สรุปแล้ว Engagement คือการมีส่วนร่วมของลูกค้าหรือผู้ใช้งานบนโลกออนไลน์ที่มามีส่วนร่วมกับสินค้า โฆษณา หรือคอนเทนต์ของเรา ซึ่งจะนำไปสู่การเกิดยอดขายหรือการสร้างการรับรู้แบรนด์ของเราอย่างกว้างขวาง จึงเป็นกลยุทธิ์ที่ดีและมีประโยชน์มากในทุกๆ ธุรกิจ แต่การจะสร้าง Engagement ที่ดีได้เราต้องวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย เลือกภาพลักษณ์แบรนด์ และคิดคอนเทนต์ให้เหมาะสมเสียก่อน จากนั้นจึงวิเคราะห์ผลตอบรับเพื่อการสร้าง Engagement ที่ดียิ่งขึ้นในอนาคต
Engagement ที่น่าสนใจในปัจจุบันได้แก่ Facebook Engagement คือยอด Engagement บนแพลตฟอร์ม Facebook ที่มีการนับทั้งยอดรีแอคชั่น ยอดกดไลก์กดแชร์ ยอดการคอมเมนต์ รวมไปถึงการรีพอร์ตต่างๆ อีกด้วย เนื่องจากเป็นช่องทางที่คนจำนวนมากใช้และมีร้านค้าหลายธุรกิจใช้เป็นช่องทางหลักในการขายสินค้านั่นเอง ทว่าในบางธุรกิจหรือสินค้าบางประเภทอาจมีช่องทางโซเชียลมีเดียอื่นๆ ที่ตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าของคุณได้ดียิ่งกว่า ดังนั้นจึงต้องศึกษากลุ่มเป้าหมายให้ดีๆ ก่อนจะเริ่มลงมือสร้าง Engagement ให้มีประสิทธิภาพ