รีไฟแนนซ์บ้าน คืออะไร? จ่ายเงินต้นมากขึ้น ดอกเบี้ยน้อย
การซื้อบ้านเป็นของตัวเองสักหลังด้วยการใช้เงินสดจ่ายครั้งเดียวจบอาจทำได้ยากมาก ยิ่งในยุคนี้ที่ทุกอย่างแพงไปหมด หากไม่ได้มีพื้นฐานฐานะจากพ่อแม่ก็ยิ่งยากเข้าไปใหญ่ จึงไม่แปลกอะไรที่หลาย ๆ คนจะกู้เงินซื้อบ้าน หรือการขอสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยนั่นเอง
ธนาคาร สถาบันการเงินต่าง ๆ ก็มักจะออกโปรโมชันเกี่ยวกับกู้เงินซื้อบ้านหรือทำสินเชื่อบ้านด้วยอัตราดอกเบี้ยต่ำ เพื่อดึงดูดลูกค้ามากขึ้น แต่โปรโมชั่นนั้นไม่ได้อยู่ตลอดไปยันผ่อนบ้านหมด เมื่อผ่อนไปสักระยะหนึ่ง ดอกเบี้ยที่เคยถูกก็จะเข้าสู่ดอกเบี้ยลอยตัว ซึ่งทำให้ผู้กู้ต้องจ่ายดอกเบี้ยแพงขึ้นมาก กลายเป็นช่วงหลัง ๆ ผ่อนแต่ดอกไม่ได้จ่ายเงินต้นด้วยซ้ำ
เพราะเหตุนี้จึงมีทางเลือกใหม่ที่ช่วยให้การผ่อนบ้านทำได้ง่ายขึ้น นั่นก็คือการรีไฟแนนซ์บ้าน โดยแต่ละธนาคาร แต่ละสถาบันการเงินก็จะออกโปรโมชันรีไฟแนนซ์บ้านออกมาแข่งขันกันเรื่อย ๆ แต่เราจะรีไฟแนนซ์บ้านอย่างไรให้คุ้มค่าที่สุด เราต้องเข้าใจเกี่ยวกับการรีไฟแนนซ์บ้านเสียก่อน
รีไฟแนนซ์บ้าน คืออะไร
รีไฟแนนซ์บ้าน (Refinance) คือ การทำสัญญาสินเชื่อบ้านกับเจ้าหนี้รายใหม่เพื่อนำเงินก้อนจากเจ้าหนี้รายใหม่นั้นไปปิดหนี้กับเจ้าหนี้รายเดิมเมื่อสัญญาสินเชื่อบ้านของเจ้าหนี้รายเดิมหมดอายุสัญญาแล้ว การทำเช่นนี้จะทำให้ผู้กู้ได้โปรโมชั่นดอกเบี้ยราคาต่ำเหมือนตอนขอสินเชื่อบ้านในปีแรก ๆ วิธีนี้จะช่วยให้การจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ต่ำลง ทำให้ผู้กู้สามารถจ่ายเงินต้นได้มากขึ้น และปิดหนี้ได้ไวกว่าเดิมนั่นเอง
ยกตัวอย่างเช่น นาย ก ได้ขอสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยมาซื้อบ้านราคา 2 ล้านบาทกับธนาคาร A ซึ่งมีโปรโมชันอัตราดอกเบี้ยต่ำเพียง 2% ต่อปีเป็นเวลา 3 ปี (ซึ่งปกติแล้วระยะสัญญาสินเชื่อบ้านกับระยะอัตราดอกเบี้ยต่ำจะอยู่ในช่วง 3 ปี) เมื่อพ้นระยะนี้ไปแล้ว นาย ก จะต้องจ่ายดอกเบี้ยแพงถึง 6% ต่อปีจากภาวะดอกเบี้ยลอยตัว ทำให้นาย ก ต้องจ่ายดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น ในขณะที่จ่ายเงินต้นได้น้อยลง
ดังนั้น เพื่อลดอัตราดอกเบี้ยให้ถูกเหมือนตอนแรก นาย ก จึงทำการรีไฟแนนซ์กับธนาคาร B ที่มีโปรโมชันอัตราดอกเบี้ยเพียง 2% ต่อปี โดยทำสัญญากับธนาคาร B ใหม่และนำเงินก้อนนั้นไปปิดหนี้กับธนาคาร A ในขณะที่ใช้หลักทรัพย์นั้น ๆ มาเป็นหลักประกัน
โดยผู้กู้สามารถเลือกธนาคารหรือสถาบันการเงินไหนในการยื่นขอรีไฟแนนซ์บ้านก็ได้ โดยปกติแล้วผู้กู้ส่วนใหญ่จะพิจารณาจากอัตราดอกเบี้ยต่ำที่สุด หรือระยะเวลาชำระหนี้ยาวขึ้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นผู้กู้จะต้องคำนวณและชั่งน้ำหนักให้ดีว่าการรีไฟแนนซ์บ้านกับเจ้าหนี้รายใหม่นั้น เมื่อหักค่าใช้จ่ายจากการรีไฟแนนซ์ไปแล้วจะคุ้มกว่าทนจ่ายดอกเบี้ยแพง ๆ กับเจ้าหนี้รายเก่าหรือไม่
ปัญหาในการรีไฟแนนซ์บ้าน
ถึงแม้ว่าการรีไฟแนนซ์บ้านครั้งหนึ่งจะช่วยให้คุณประหยัดดอกเบี้ยได้มากขึ้น แต่กว่าจะยื่นรีไฟแนนซ์บ้านจนสำเร็จก็อาจไม่ใช่เรื่องง่ายจากปัญหาเหล่านี้
1. การเปรียบเทียบโปรโมชั่นรีไฟแนนซ์ของแต่ละธนาคาร
เพราะความต้องการดึงดูดลูกค้าให้มาใช้บริการของตน ทำให้มีธนาคาร สถาบันการเงินมากมายออกโปรโมชั่นรีไฟแนนซ์บ้านแข่งกันอย่างมากมาย สำหรับผู้กู้ก็จะต้องนำโปรโมชั่นของแต่ละธนาคารแต่ละสถาบันการเงินมาเปรียบเทียบเพื่อหาว่าที่ไหนให้ความคุ้มค่าที่จะรีไฟแนนซ์บ้านด้วยที่สุด หากดูพลาดก็อาจทำให้ผู้กู้ต้องพลาดโอกาสดี ๆ ไป ซึ่งตรงนี้นับเป็นจุดเริ่มต้นแห่งปัญหาในการรีไฟแนนซ์บ้าน
2. ความพร้อมของเอกสาร
เอกสารมีความจำเป็นในการยื่นรีไฟแนนซ์บ้านอย่างมาก เพราะเป็นสิ่งที่ทางธนาคารใหม่ที่คุณจะไปรีไฟแนนซ์จะต้องนำข้อมูลจากเอกสารเหล่านี้มาพิจารณาว่าหากปล่อยสินเชื่อให้กับคุณแล้วจะสามารถได้รับเงินคืนกลับมาหรือไม่
เอกสารที่มักจะใช้ในการรีไฟแนนซ์บ้านมีดังนี้
- เอกสารข้อมูลส่วนบุคคล
- สำเนาบัตรประชาชน
- สำเนาทะเบียนบ้าน
- สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของคู่สมรส (ถ้ามี)
- สำเนาทะเบียนสมรส/หย่า/ใบเปลี่ยนชื่อ-สกุล (ถ้ามี)
- สำเนาใบมรณะบัตรและทะเบียนสมรสของคู่สมรส (กรณีคู่สมรสเสียชีวิต)
- เอกสารแสดงหลักประกันที่นำมายื่นรีไฟแนนซ์บ้าน
- สำเนาแสดงกรรมสิทธิ์ในหลักประกัน เช่น โฉนดที่ดิน
- สำเนาหนังสือสัญญาจำนองที่ดิน
- สำเนาสัญญากู้เงินธนาคารเดิม
- สำเนาใบเสร็จเงินกู้เดือนล่าสุด
- แผนที่ตั้งของหลักประกัน
- เอกสารแสดงรายได้
- สำหรับพนักงานประจำ
- สลิปเงินเดือนย้อนหลัง 3-6 เดือน
- หนังสือรับรองการทำงาน
- สำเนาหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (50 ทวิ)
- สำเนารายการเดินบัญชีย้อนหลัง 6 เดือน
- สำหรับผู้ที่ทำธุรกิจส่วนตัว
- สำเนารับรองการจดทะเบียนการค้า
- สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น
- สำเนารายการเดินบัญชีย้อนหลัง 6 เดือน
- สำเนาแบบแสดงภาษีซื้อขาย ภ.พ.30
- สำหรับพนักงานประจำ
โดยส่วนมากปัญหาการรีไฟแนนซ์จากเอกสารมักมาจากเอกสารไม่ครบ หรือในขณะที่จะยื่นรีไฟแนนซ์บ้านอยู่ในช่วงว่างงาน ไม่มีเอกสารแสดงรายได้ เป็นต้น
3. ค่าใช้จ่ายระหว่างการรีไฟแนนซ์
การรีไฟแนนซ์จากธนาคารหนึ่งไปอีกธนาคารหนึ่งจะมีค่าใช้จ่ายระหว่างการดำเนินการอยู่ประมาณ 3% ของวงเงินกู้ โดยวงเงินกู้ของสินเชื่อบ้านนั้นมักเป็นเงินก้อนใหญ่ ทำให้ 3% จากเงินก้อนใหญ่นั้นนับว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูงเลยทีเดียว
ค่าใช้จ่ายที่มักเกิดขึ้นระหว่างการรีไฟแนนซ์บ้านมีดังนี้
- ค่าประเมินราคาหลักทรัพย์ : ขึ้นอยู่กับสถานที่ตั้งของหลักทรัพย์ที่ต้องการรีไฟแนนซ์ หากตั้งอยู่ในสถานที่ไกล เดินทางลำบากก็อาจทำให้มีค่าใช้จ่ายในส่วนนี้มาก
- ค่าจดจำนอง : เมื่อรีไฟแนนซ์บ้านกับธนาคารใหม่ก็จะต้องไปจดจำนองใหม่ ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 1% ของวงเงินกู้
- ค่าอากรสแตมป์ : 0.05% ของวงเงินกู้ใหม่ (สูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท)
- ค่าประกันอัคคีภัย : ตามกฎหมายจะต้องทำประกันอัคคีภัยทุก ๆ 1-3 ปี
- ค่าธรรมเนียมอื่น ๆ ของธนาคาร
4. ความยุ่งยากในขั้นตอนการยื่นรีไฟแนนซ์บ้าน
การจะรีไฟแนนซ์บ้านครั้งนึงมักตามมาด้วยขั้นตอนที่มากมาย ไม่ว่าจะตั้งแต่การค้นหา เปรียบเทียบสถาบันการเงินใหม่ที่จะรีไฟแนนซ์บ้าน การเตรียมเอกสาร การยื่นเอกสารเพื่อให้สถาบันการเงินพิจารณา การดำเนินเรื่องหลังการอนุมัติ ซึ่งหลายคนพอเห็นถึงขั้นตอนยุ่งยากก็อาจเกิดอาการท้อไปเสียก่อน
5. ธนาคารไม่อนุมัติ
หากคุณเป็นผู้ที่มีประวัติทางการเงินไม่ดี เช่น มักจะชำระหนี้ล่าช้า ชำระหนี้ในอัตราขั้นต่ำ ผิดนัดชำระหนี้บ่อยครั้ง มีหนี้สินมากกว่าทรัพย์สินมาก ๆ หรือเป็นผู้ที่ขาดรายได้จากการตกงาน ว่างงาน ก็อาจทำให้การยื่นขอรีไฟแนนซ์บ้านกับธนาคารใหม่เป็นไปได้ยาก และถึงแม้จะยื่นรีไฟแนนซ์กับธนาคารเดิมก็ผ่านได้ยากเช่นกัน
Fintech ที่ช่วยทำให้การรีไฟแนนซ์บ้านเป็นเรื่องง่าย
ปัญหาการรีไฟแนนซ์บ้านมีทั้งปัญหาที่เป็นปัญหาส่วนบุคคลและปัญหาในความยุ่งยากของระบบ หากเป็นปัญหาส่วนบุคคล เช่น ประวัติการชำระเงินไม่ดี ติดแบล็กลิสธนาคาร เครดิตยูโรติดตัวแดง ปัญหาเหล่านี้อาจต้องแก้ที่ตนเอง แต่หากปัญหาในความยุ่งยากของระบบ Refinn มีทางออกให้คุณได้รีไฟแนนซ์บ้านกันได้ง่ายกว่าเดิม
Refinn เป็นแอพลิเคชั่นที่ช่วยให้คุณสามารถค้นหา เปรียบเทียบโปรโมชั่นรีไฟแนนซ์บ้านได้ง่าย ๆ เพียงกรอกตัวเลือกที่ต้องการ ระบบก็จะประมวลผลและแสดงผลลัพธ์ที่เหมาะสมที่สุดให้กับคุณ ประโยชน์ที่เรามีให้คุณมีดังนี้
- รีฟินน์ช่วยเปรียบเทียบโปรโมชั่นรีไฟแนนซ์บ้าน
จุดเด่นของเราคือการช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้กู้ เพียงแค่กรอกข้อมูลที่ต้องการเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ระบบจะรวบรวมโปรโมชั่นของธนาคารและสถาบันการเงินที่เหมาะสมที่สุดกับคุณเพียงคลิกเดียว
- กรอกข้อมูลสมัครครั้งเดียว ยื่นได้หลายธนาคาร
ปกติแล้วการยื่นเอกสารรีไฟแนนซ์บ้านอาจทำได้พร้อม ๆ กันหลาย ๆ ธนาคาร แต่หากเป็นแต่ก่อนผู้กู้จะต้องเดินเรื่องยื่นเอกสาร กรอกข้อมูลหลาย ๆ ครั้ง แต่รีฟินน์ช่วยให้คุณกรอกข้อมูลสมัครเพียงครั้งเดียวก็สามารถยื่นพิจารณาได้หลาย ๆ ธนาคารพร้อมกัน
- มีทีมงานที่มากประสบการณ์คอยให้คำแนะนำและติดตามงานจนดำเนินการเสร็จสิ้น
หากใครเคยรีไฟแนนซ์บ้านด้วยตนเองอาจเคยพบปัญหาในการดำเนินเรื่องรีไฟแนนซ์มาไม่มากก็น้อย ทั้งปัญหาด้านเอกสาร หรือการดำเนินเรื่องช้ามาก ๆ การติดต่อกับธนาคารก็ลำบาก ปัญหาเหล่านี้จะหมดไปเพราะรีฟินน์เรามีทีมงานมากประสบการณ์ที่จะคอยแนะนำ ให้คำปรึกษาและยังช่วยตามเรื่องให้คุณได้อีกด้วย
- ใช้บริการฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายและข้อผูกมัดใด และค่าใช้จ่ายแอบแฝง
รีฟินน์เป็นบริษัทสตาร์ตอัพสาย Fintech ที่ได้รับการสนับสนุนทางการตลาดจากหลาย ๆ ธนาคาร เราจึงไม่มีการคิดค่าบริการ หรือมีค่าใช้จ่ายแอบแฝงใด ๆ
หากคุณอยากรีไฟแนนซ์บ้าน แต่การเดินเรื่องด้วยตนเองก็ทำได้ลำบากนัก มาใช้บริการกับเรา Refinn ได้เลย สนใจคลิก รีไฟแนนซ์บ้าน
ประโยชน์ของการรีไฟแนนซ์บ้าน
1. จ่ายอัตราดอกเบี้ยราคาถูก
ประโยชน์เด่น ๆ ของรีไฟแนนซ์บ้านคือการอาศัยช่วงอัตราดอกเบี้ยต่ำจากโปรโมชั่นสินเชื่อบ้านในช่วงปีแรก ๆ การทำรีไฟแนนซ์บ้านจึงทำให้ผู้กู้จ่ายอัตราดอกเบี้ยราคาโปรโมชั่นอยู่ตลอด เป็นการประหยัดดอกเบี้ยไปได้ค่อนข้างมาก หากเทียบกับการทนจ่ายกับที่เดิมที่ดอกเบี้ยลอยตัวไปมากแล้ว
2. จ่ายเงินต้นได้มากขึ้น
เมื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำลง จึงทำให้ผู้กู้สามารถชำระเงินต้นได้มากขึ้น ยิ่งเงินต้นลดลงมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งสัมพันธ์กับดอกเบี้ยที่น้อยลงเท่านั้น และทำให้ผู้กู้สามารถปลดหนี้ได้ไวขึ้น
3. ยืดระยะเวลาผ่อนได้นานขึ้น
เพราะการรีไฟแนนซ์เป็นการทำสัญญาใหม่ ดังนั้นถึงแม้ว่าจะผ่อนบ้านไป 3 ปีแล้ว สัญญาเก่าระยะผ่อนจาก 20 ปีเหลือระยะผ่อน 17 ปี แต่เมื่อรีไฟแนนซ์กับธนาคารใหม่ ระยะเวลาผ่อนก็จะรีเซ็ตกลับมา 20 ปีใหม่นับจากวันที่เซ็นสัญญารีไฟแนนซ์ใหม่นั่นเอง
ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับรีไฟแนนซ์บ้าน
1. รีไฟแนนซ์บ้าน เหมือนรีไฟแนนซ์รถเหมาะกับคนที่เริ่มมีปัญหาทางการเงิน
สิ่งที่หลายคนมักเข้าใจผิดว่าการรีไฟแนนซ์บ้านเหมาะกับผู้ที่มีปัญหาทางการเงิน ซึ่งจริง ๆ แล้วการจะรีไฟแนนซ์บ้านได้นั้นจำเป็นจะต้องมีประวัติทางการเงินที่ดีก่อนจึงจะสามารถยื่นรีไฟแนนซ์บ้านผ่านได้ เพราะทางธนาคารจะต้องนำประวัติทางการเงินของผู้กู้มาพิจารณา เช่น สลิปเงินเดือน ประวัติการผ่อนชำระ ประวัติการใช้บัตรเครดิต หากประวัติไม่ดี การยื่นรีไฟแนนซ์ก็ทำได้ยาก
2. ดอกเบี้ยบ้านถูกอยู่แล้วไม่ต้องรีไฟแนนซ์บ้านก็ได้
หากดูแค่เปอร์เซ็นต์ดอกเบี้ยบ้านเทียบกับดอกเบี้ยรถ ดอกเบี้ยบัตรเครดิต ก็อาจดูเหมือนถูก แต่หากนำเปอร์เซ็นต์ดอกเบี้ยมาคำนวณพร้อมกับยอดหนี้ จะเห็นได้ว่าผู้กู้จะต้องเสียเงินไปกับดอกเบี้ยบ้านสูง เพราะยอดหนี้บ้านส่วนใหญ่จะอยู่ที่หลักล้านขึ้นไป เพียงแค่ดอกเบี้ยไม่กี่เปอร์เซ็นต์ก็หมายถึงเงินหลักหมื่นแล้ว
และยิ่งเมื่อผ่านบ้านไปเรื่อย ๆ อัตราดอกเบี้ยบ้านก็จะลอยตัว ทำให้ดอกเบี้ยสูงขึ้น ถึงแม้ว่าคุณจะผ่อนจ่ายต่อเดือนเท่าเดิม แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าหนี้ของคุณลดลงเพราะเงินที่จ่ายไปนั้นหมดไปกับผ่อนดอกเบี้ย ไม่ใช่เงินต้นนั่นเอง
ดังนั้นเพื่อให้ปลดหนี้เร็วขึ้น ประหยัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นอย่างดอกเบี้ยให้ลดลง จึงควรรีไฟแนนซ์บ้านเพื่อลดอัตราดอกเบี้ยให้ถูกลง บางครั้งหากมีการจัดการที่ดีก็สามารถทำให้ผู้กู้ประหยัดเงินได้หลักแสนหลักล้านเลยทีเดียว
3. รีไฟแนนซ์บ้านไม่คุ้มเพราะต้องทำประกัน MRTA
มีคนพูดถึงกันมากว่าจะรีไฟแนนซ์บ้านก็ต้องทำประกันคุ้มครองสินเชื่อบ้าน MRTA ด้วย ซึ่งในความเป็นจริงแล้วการรีไฟแนนซ์บ้านไม่จำเป็นต้องทำประกัน MRTA ก็ได้เพราะประกัน MRTA เป็นประกันภาคสมัครใจ แต่ทางธนาคารก็มักจะออกโปรโมชั่นว่าหากทำประกัน MRTA แล้วก็จะได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่มเติม เช่น อัตราดอกเบี้ยถูกกว่า หรือฟรีค่าใช้จ่ายในการดำเนินเรื่องรีไฟแนนซ์ อย่างไรก็ตามผู้กู้สามารถเลือกได้ว่าจะทำหรือไม่ทำประกัน
หากพูดในเรื่องความประหยัด ผู้กู้สามารถเลือกทำรีไฟแนนซ์บ้านเพียงอย่างเดียวโดยไม่ทำประกันคุ้มครองสินเชื่อ MRTA ได้ แต่หากหวังสิทธิประโยชน์อื่น ๆ จากประกัน ก็สามารถสมัครประกันไปพร้อม ๆ กับรีไฟแนนซ์บ้านได้เลย
สรุป
การรีไฟแนนซ์บ้านเป็นวิธีที่ช่วยให้ผู้กู้ได้ผ่อนจ่ายดอกเบี้ยในราคาต่ำกว่าเดิม สามารถจ่ายเงินต้นได้มากขึ้นเพื่อให้ปลดหนี้ได้ไว แต่อย่างไรก็ตามการรีไฟแนนซ์บ้านไม่ได้หมายความว่าจะรีไฟแนนซ์อย่างไรก็คุ้มค่า เพราะยังต้องพิจารณาจากปัจจัยอื่น ๆ เช่น ค่าใช้จ่ายในการรีไฟแนนซ์บ้าน หรือรวมถึงค่าผิดสัญญารีไฟแนนซ์บ้านก่อนหมดอายุสัญญา หากคำนวณไม่ระวังอาจทำให้ผู้กู้ต้องเสียค่าใช้จ่ายมากขึ้นกว่าเดิม
แต่หากผู้กู้ใช้การรีไฟแนนซ์บ้านอย่างเหมาะสมก็จะสามารถให้ผู้กู้ประหยัดค่าใช้จ่ายไปได้ค่อนข้างมากเลย สำหรับใครที่สนใจรีไฟแนนซ์บ้านแต่กังวลเรื่องเอกสาร หรือเรื่องอื่น ๆ เราขอแนะนำบริการ Refinn ที่จะช่วยให้การรีไฟแนนซ์บ้านเป็นเรื่องง่ายกว่า