ตาไม่เท่ากัน ไม่ใช่ปัญหาอีกต่อไปแล้ว

หมดกังวล ! ตาไม่เท่ากัน ไม่ใช่ปัญหาอีกต่อไป

ดวงตาเป็นอวัยวะที่สำคัญมากบนใบหน้า นอกจากใช้งานทางด้านการมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ก็ยังเป็นส่วนที่คู่สนทนามักจะมอง และสังเกต ดังนั้นการมีเสน่ห์ น่าดึงดูดสายตาของบุคคลรอบข้าง ดวงตาของเราก็มีผลเช่นกัน นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มความมั่นใจในบุคลิกภาพของตนเองด้วย

แต่สำหรับคนตาไม่เท่ากัน หรือมีตาสูงไม่เท่ากัน ซึ่งไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุใดก็ตาม ย่อมส่งผลเสียต่อความมั่นใจ บุคลิกภาพ และสภาพจิตใจในระยะยาว ดังนั้นเรามาดูกันว่าสาเหตุของ ตาไม่เท่ากัน เกิดจากอะไร และสามารถรักษาได้อย่างไรบ้าง


ตาไม่เท่ากัน

ถึงแม้จะกล่าวว่าดวงตาของคนเราโดยธรรมชาติจะไม่เท่ากัน 100% แต่มันจะไม่สามารถสังเกตได้ชัดเจน ถ้าเมื่อใดก็ตามที่ชั้นตาไม่เท่ากัน นั่นหมายความว่าได้มีความผิดปกติในร่างกายเกิดขึ้นแล้ว ซึ่งจะมาจากสาเหตุใดนั้น เราควรศึกษาหาข้อมูลเพื่อจะได้ทำการรักษาได้อย่างถูกวิธี

ตัวอย่างของชั้นตาไม่เท่ากัน ที่เห็นได้ค่อนข้างชัดเจน คือ ชั้นตาข้างหนึ่งใหญ่กว่าอีกข้างหนึ่ง หรือ ดวงตาเปิดได้ไม่เท่ากัน, ตำแหน่งของตาดำไม่เท่ากัน, ลืมตาได้ไม่เต็มที่ หรือมีโครงกระดูกเบ้าตาไม่เท่ากันทั้งสองข้าง จึงทำให้ตาไม่เท่ากันด้วย นอกจากนี้โครงสร้างของใบหน้าที่ไม่สมดุล เช่น คิ้วและโหนกแก้มไม่เท่ากัน ก็มีผลเช่นกัน ซึ่งสาเหตุของตาไม่เท่ากันก็มีอยู่ด้วยกันหลายอย่าง ซึ่งเราจะมาดูในหัวข้อถัดไป


สาเหตุ ตาไม่เท่ากัน เกิดจากอะไร ?

สาเหตุที่ชั้นตาไม่เท่ากัน เกิดจากหลายสาเหตุด้วยกัน มีทั้งแบบควบคุมได้ และแบบความคุมไม่ได้ แต่สามารถรักษาให้ถูกวิธีได้โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ  เราพอจะจำแนกสาเหตุหลัก ๆ ได้ดังต่อไปนี้

สาเหตุตาไม่เท่ากันเกิดจาก

1.อายุ 

การที่มีอายุเพิ่มมากขึ้น ทำให้หนังตาตก หรือ กล้ามเนื้อบริเวณตาอ่อนแรง ทำให้เปลือกตาบนย้อยลงมาปิดชั้นตาล่าง นำไปสู่อาการตาไม่เท่ากัน

2.กิจวัตรประจำวัน 

เป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากความเคยชิน เช่น ขยี้ตาแรง ๆ หรือ นอนตะแคงเป็นประจำ ทำให้กล้ามเนื้อตาข้างใดข้างหนึ่งหย่อนคล้อย หรือ เคี้ยวอาหารไม่เท่ากัน เน้นเคี้ยวอาหารข้างเดียว จนมีปัญหากรามเบี้ยว หรือจ้องหน้าจอโทรศัพท์ / คอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ๆ โดยไม่พักสายตา หรือ ใส่คอนแทคเลนส์เป็นเวลานาน

3.อุบัติเหตุ 

ตาไม่เท่ากันอาจเกิดกับผู้ที่เคยประสบอุบัติเหตุที่ทำให้บริเวณรอบดวงตากระทบกระเทือน ส่งผลกระทบต่อสมองหรือเส้นประสาทควบคุมกล้ามเนื้อตา ก่อให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงตามมา จนทำให้ตาไม่เท่ากันได้

4.โรคบางชนิด 

เช่น โรคภูมิแพ้ ทำให้รู้สึกคันตาบ่อย ๆ จนต้องขยี้ตา กระทั่งไขมันบริเวณชั้นตาสลายไป หรือเป็นโรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง เป็นต้น โรคเหล่านี้ก็สามารถทำให้เป็นตาไม่เท่ากัน ได้เช่นกัน

5.ศัลยกรรมตาสองชั้นมาก่อน 

มีปัญหาจากการทำศัลยกรรมตา 2 ชั้น เช่น ชั้นตาสูง – เตี้ยเกินไป, ลืมตาไม่ได้, รูปทรงไม่สวย, ตาไม่เท่ากัน, ตาปรือ

สาเหตุ ตาไม่เท่ากัน เกิดจากอะไร

สังเกตอาการตาไม่เท่ากัน

เราสามารถสังเกตอาการชั้นตาไม่เท่ากันได้จาก

  • ชั้นตาสูง หรือ เบ้าตาลึก จึงทำให้ดวงตาข้างหนึ่งสูงกว่าอีกข้าง
  • เปลือกตาไม่เท่ากัน อาจเกิดจากอายุที่เพิ่มขึ้นทำให้ผิวหนังหย่อนคล้อย
  • คิ้วไม่เท่ากัน เนื่องจากคิ้วตก หรือ ตำแหน่งไม่สมดุลกัน
  • ตาสามชั้น ทำให้ชั้นตาดูไม่เท่ากัน
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง ทำให้ตาปรือ ตาตก ตาง่วง เพียงข้างเดียว

วิธีแก้ไขตาไม่เท่ากัน

วิธีแก้ตาไม่เท่าก้นนั้นแบ่งได้เป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ดังนี้

วิธีแก้ไขตาไม่เท่ากัน

1.รักษาตาไม่เท่ากันแบบไม่ผ่าตัด 

เป็นการแก้ไขตาไม่เท่ากัน โดยไม่ต้องทำการผ่าตัด วิธีที่ใช้มีดังนี้ 

  • การฉีดสารโบท๊อกซ์ ที่มีฤทธิ์ทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว (เช่น โบท๊อกซ์) ช่วยปรับรูปตาให้แลดูเท่ากั
  • การฉีดฟิลเลอร์ตรงเปลือกตา, ร้อยไหม (Foxy Eye) เพื่อดึงผิวหนังบริเวณหางตาให้ยกขึ้นตามแนวเส้นไหม
  • การใช้เครื่องยกกระชับ Hifu Ultraformer พลังงานคลื่นเสียงอัลตร้าซาวด์ความถี่สูงยิงไปที่ชั้นผิ
  • เข้าโปรแกรมเพื่อยกกระชับผิวหนังรอบดวงตา เช่น Thermage FLX, Ulthera SPT และ INDIBA Eye Restore เป็นต้น

2.รักษาตาไม่เท่ากันแบบผ่าตัด 

เป็นการรักษาที่ใช้วิธีกรีดเปลือกตา ซึ่งการรักษาตาไม่เท่ากัน โดยการผ่าตัดก็จะมีอยู่ด้วยกันหลายประเภท ผ่าตัดปรับกล้ามเนื้อตา ด้วยการตัดหนังตาส่วนเกินออก เย็บชั้นตารวมกับรักษากล้ามเนื้อตาอ่อนแรงให้แข็งแรงขึ้นแบบกรีดสั้น ที่เหมาะกับหนังตาที่ไม่หนามาก มีไขมันตาน้อย ผิวหนังตาบาง มีตาชั้นเดียว ใช้เวลาผ่าตัด 30-40 นาที 

แบบกรีดยาว จะใช้เวลาผ่าตัด 45–60 นาที ผ่าได้ทั้งแบบหัวตาแบบฝรั่ง หรือ หัวตาแบบเอเชีย ใช้การเย็บตาด้านใน แบบเปิดหัวตาและหางตา การรักษาวิธีนี้ช่วยให้ดวงตากลมโตมากขึ้น ใช้เวลาผ่าตัด 30-45 นาที แต่ไม่นิยมในไทย แบบเปิดตาดำ เหมาะกับคนที่ขาดไขมันบนตา มีไขมันชั้นตาด้านบนหนาเหมือนตาสามชั้น ต้องเลาะและตัดไขมันออกมาเย็บติดกับกระดูกขอบตาด้านบน ใช้เวลาผ่าตัด 40-60 นาที                                               


แนะนำวิธีดูแลตัวเองหลังรักษาตาไม่เท่ากัน 

หลังจากที่ได้รับการรักษาตาไม่เท่ากันจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญแล้ว โดยเฉพาะรักศสด้วยการผ่าตัด ก็ควรที่จะดูแลตัวเองตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด โดยแนวทางวิธีการดูแลตนเองหลังรักษาตาไม่เท่ากัน มีอยู่ด้วยกัน ดังนี้

  • ไม่ควรให้แผลโดนน้ำ ในเวลาอาบน้ำ ล้างหน้าและสระผม จนกว่าจะตัดไหม
  • ใช้ผ้าเย็นประคบรอบดวงตาและหน้าผาก เพื่อลดบวมและเลือดซึมใน 2 วันแรก
  • และในวันที่ 3-5 หลังผ่าตัดให้ประคบด้วยน้ำอุ่นเพื่อลดรอยช้ำ
  • ให้หนุนหมอนยกศีรษะให้สูง เพื่อลดอาการบวมรอบดวงตา เวลานอน
  • ไม่กินอาหารรสจัด ไก่ ไข่ อาหารทะเล และของหมักดอง ประมาณ 3 สัปดาห์
  • ไม่ใช้สายตาเป็นเวลานาน ๆ  และไม่ขยี้ตา
  • ไม่ใช้เครื่องสำอางบนใบหน้า เพื่อป้องกันไม่ให้สิ่งสกปรกเข้าสู่แผลผ่าตัดจนเกิดการติดเชื้อ
  • ฝึกบริหารกล้ามเนื้อบริเวณตา ด้วยการลืมตาเต็มที่ กว้าง ๆ เป็นประจำหลังผ่าตัด
  • ควรใส่แว่นตากันลมฝุ่น สิ่งสกปรก ทุกครั้งที่ออกนอกบ้าน
  • กินยาตามแพทย์สั่ง
  • มาพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง
แนะนำวิธีดูแลตัวเองหลังรักษาตาไม่เท่ากัน 

สรุป

ดังนั้นสำหรับคนที่มีตาไม่เท่ากัน และต้องการรักษาเพื่อให้ดูดี มีความมั่นใจในการใช้ชีวิตประจำวัน ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการการรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสม ถูกต้อง ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด บนฐานข้อมูลที่ได้รับจากบทความนี้เป็นแนวทางในการปฏิบัติ

Similar Posts