Burn out คือภาวะหมดไฟ ภาวะที่พบได้บ่อยในวัยทำงาน
ในยุคที่ทุกอย่างเร่งรีบ ภาระงานท่วมหัว คุณเคยไหม? รู้สึกไม่มีเรี่ยวแรงกับการทำงานในแต่ละวันกำลังจะหมดไป ไม่ใช่แค่แรงกายที่เหนื่อยแต่สุขภาพจิตใจก็ย่ำแย่ลงไปด้วย เหมือนแบตเตอรี่กำลังจะหมดลง นี่คือภาวะหนึ่งที่เรียกว่า Burn out คือ อาการหมดไฟ ความเหนื่อยล้าและความเครียดสะสมในการทำงานหรือชีวิตประจำวันอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน จนมีทัศนคติลบและไร้ความเชื่อมั่นในตนเอง
Burn out คือภาวะหมดไฟที่ควรให้ความสำคัญ
Burn out คือ ภาวะทางอารมณ์ที่รู้สึกหมดไฟ หมดกำลังใจ เกิดจากความเครียดเรื้อรังจากงานที่ทำ เปรียบเสมือนแบตเตอรี่ทางจิตใจและอารมณ์ที่ถูกใช้ไปจนหมดสิ้นลง ภาวะ Burn out นี้มาจากแรงกดดันและความต้องการทั้งของตนเองและผู้อื่นที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง อาจนำไปสู่ปัญหาทางร่างกาย ภาวะซึมเศร้า และปัญหาความสัมพันธ์
สาเหตุ Burn out คืออะไรบ้าง
ความรู้สึกหรือภาวะที่ร่างกายหมดเรี่ยวแรงกายและใจสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ มาดูกันว่า สาเหตุ Burn out คืออะไรบ้าง
- ทำงานหนัก งานล้นมือ แต่รู้สึกว่าความพยายามสูญเปล่า ไม่เห็นคุณค่าเหมือนวิ่งอยู่บนสายพาน ไปไม่ถึงไหนสักที
- เพื่อนร่วมงานหรือหัวหน้า ไม่ใช่ทีม ไม่มีใครคอยสนับสนุน เหมือนโดดเดี่ยวกลางทะเลทราย
- ขาดสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานกับชีวิตส่วนตัว โหมงานหนักไม่มีเวลาพักผ่อน
- กดดันตัวเองมากเกินไป หมายถึงอยู่กับความเครียดสะสม ความกังวลใจที่รู้สึกว่าตนเองยังทำได้ไม่ดีพอเท่าที่หวังไว้
Burn out มีกี่ระยะ ลักษณะเป็นอย่างไร
- ระยะฮันนีมูน (The Honeymoon) Burn out ในระยะนี้คือ อาจเริ่มรู้สึกว่างานเริ่มทำให้เหนื่อยหรือไม่มีความสุขเท่าที่ควร อาจมีความรู้สึกเหนื่อยล้าทั้งกายและใจในบางช่วงเวลาของวันหรือในบางสถานการณ์ เช่น งานล้นมือ เจ้านายกดดัน
- ระยะรู้สึกตัว (The Awakening) เริ่มรู้สึกมีการเครียดและตึงเครียดมากขึ้นความเครียดนี้อาจมาจากการต้องทำงานในสภาวะที่มีความซับซ้อนหรือมีปัญหา การรับผิดชอบมากขึ้น ทุกอย่างไม่เป็นไปตามเป้าหมาย หรือการต้องเผชิญกับแรงกดดันจากงานหรือสถานการณ์ส่วนตัวจึงทำให้ประสบภาวะหมดไฟ
- ระยะไฟตก (Brownout) เปรียบเสมือนสัญญาณเตือนภัยของ Burn out Syndrome ในระยะนี้ บุคคลจะเริ่มเผชิญกับความท้าทายทางอารมณ์และพฤติกรรมที่ส่งผลต่อทั้งชีวิตส่วนตัวและการทำงาน มีความเหนื่อยล้าเรื้อรัง รู้สึกอ่อนเพลียทั้งร่างกายและจิตใจ พักผ่อนไม่เพียงพอ อารมณ์แปรปรวน ควบคุมอารมณ์ได้ยาก
- ระยะหมดไฟเต็มที่ (Full scale of Burn out) Burn out ในระยะนี้คือ เป็นสัญญาณอันตรายที่ต้องรีบขอความช่วยเหลือ บุคคลจะสูญเสียพลังงานทั้งทางร่างกายและจิตใจ ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อทุกแง่มุมของชีวิต รู้สึกท้อแท้ สิ้นหวัง มองตัวเองในแง่ลบ และมองไม่เห็นทางออก รวมถึงมีภาวะแทรกซ้อนทางสุขภาพ ปวดท้อง ปวดศีรษะ และอ่อนเพลียง่าย
- ระยะฟื้นตัว (The Phoenix Phenomenon) ช่วงเวลาที่ผู้ป่วยเริ่มฟื้นฟูใจและกายกลับคืนมา หลังจากหมดไฟในการใช้ชีวิต ได้พักและปรับมุมมองเห็นโอกาสที่จะเริ่มต้นใหม่ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของต้นให้สมดุลมากขึ้น รู้สึกมีแรง มีพลังในการทำงาน ทำกิจกรรมต่าง ๆ ต่อไป
อาการที่บ่งบอกว่าตนเองมีภาวะ Burn out
อาการ Burn out คือ ภาวะอ่อนเพลียเรื้อรังทางอารมณ์ จนส่งผลไปยังพฤติกรรม อารมณ์ และความคิด เกิดเป็นอาการที่ผิดปกติจากนิสัยเดิมที่เคยเป็น แบ่งอาการต่าง ๆ ออกเป็นดังนี้
อาการด้านอารมณ์ เช่น รู้สึกตึงเครียด กังวล รู้สึกเหนื่อยหน่าย ไม่ไปอยากทำงาน ควบคุมอารมณ์และรู้สึกแยกตัวออกจากสังคม
อาการด้านความคิด ที่มักพบในบุคคลที่มีภาวะหมดไฟ (Burn out) คือ มองโลกและสถานการณ์ในแง่ลบเสมอ มองเห็นสิ่งที่ผิดพลาดมากกว่าสิ่งที่ดี จนไม่สามารถทำงานหรือตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อาการด้านพฤติกรรม ในภาวะเบิร์นเอ้าท์ คือ เมื่อไม่มีความรู้สึกเต็มใจ หรือไม่มีแรงจูงใจที่จะทำงานนั้น ๆ ส่งผลให้ทำงานผิดพลาด ทำงานสะเพร่า และเฉื่อยชาจนทำงานได้ช้าลง บางรายจากเป็นคนชอบสังคมกลับเก็บตัวไม่อยากพบปะผู้คน
อาการแทรกซ้อนจากการ Burn out
- อาการนอนไม่หลับ ความเครียดจาก Burn out คือทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนที่ส่งผลต่อระบบประสาทอัตโนมัติ กระตุ้นให้ร่างกายตื่นตัวและพร้อมต่อสู้หรือหนี ทำให้ยากที่จะผ่อนคลายและหลับ
- น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น-ลดลง บางคนอาจต้องการทานเพื่อปลอบใจ ฮีลใจจนทานมากกว่าปกติจนน้ำน้ำหนักขึ้น หรือบางคนอาจทานได้น้อยลง เบื่ออาหารจนทำให้น้ำหนักลดลง
- ออฟฟิศซินโดรม ด้วยการทำงานอย่างหักโหม ไม่มีเวลาพักผ่อนสะสมมาเรื่อย ๆ ทำให้ร่างกายมีอาการปวดคอบ่าไหล่ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อบริเวณต่าง ๆ จนเป็นออฟฟิศซินโดรม
- เสี่ยงต่อการเกิดโรคซึมเศร้า ความเครียดสะสม ไม่อยากทำอะไร รู้สึกเศร้า หดหู่ มองตัวเองในแง่ลบ อาการหมดไฟนี้อาจเป็นสัญญาณเตือนโรคซึมเศร้า
- เครียดเรื้อรัง คิดวนเวียน คิดมากในทุกเรื่อง แม้จะเป็นเรื่องที่ยังไม่เกิดขึ้น
วิธีรับมือภาวะหมดไฟ Burn out
มาดูกันว่าวิธีรับมือกับภาวะหมดไฟในการทํางานมีอะไรบ้างที่จะช่วยได้ หรือวิธีแก้อาการ Burn out ต้องทำอย่างไร
- จัดการความเครียด
- ฝึกสมาธิให้จิตใจสงบนิ่ง
- ทำกิจกรรมที่ชอบ หรือหากิจกรรมใหม่ ๆ ทำ
- หยุดพัก เพื่อขจัดความเครียด
- นอนหลับให้เพียงพอ
- จัดสรรเวลาให้เหมาะสมทั้งเวลางาน และเวลาพักผ่อน
- พูดคุย ปรึกษากับคนรอบข้าง
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- ปรึกษานักจิตวิทยาหรือนักบำบัด
Burn out ต้องพักเพื่อเติมไฟ
เมื่อเรารู้ว่าตนเองประสบกับภาวะ Burn out การเรียนรู้ที่จะรับมือและจัดการกับอารมณ์ที่เกิดขึ้นในภาวะหมดไฟคือมีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากอาจมีผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อสุขภาพทางกายและจิตใจ การพูดคุยกับคนที่ไว้วางใจหรือคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญสามารถช่วยให้คุณได้รับการสนับสนุนและการช่วยเหลือในการจัดการกับอารมณ์ได้อย่างเหมาะสม