หนี้บัตรเครดิต

9 วิธีแก้หนี้บัตรเครดิต พร้อมแนวทางการใช้บัตรเครดิตอย่างปลอดภัย

บัตรเครดิต บัตรที่ช่วยให้การใช้เงินเป็นเรื่องง่าย สามารถใช้จ่ายสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างสะดวกสบาย จนทำให้หลายคนเป็นหนี้บัตรเครดิตโดยไม่รู้ตัว กลายเป็นคนติดหนี้บัตรเครดิตก้อนโต ต้องเสียดอกเบี้ยและเสียประวัติทางการเงินไป บทความนี้ จะช่วยแก้หนี้บัตรเครดิตด้วย 9 วิธีที่ถ้าคุณปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เชื่อเถอะว่า อีกไม่นาน หนี้บัตรเครดิตของคุณจะหายไป!!


หนี้บัตรเครดิต

บัตรเครดิต (Credit card)  คือ อุปกรณ์ที่ช่วยให้เรานำเงินในอนาคตมาใช้ เพื่อปรับสภาพคล่อง และจับจ่ายใช้สอยซื้อสินค้าที่มีมูลค่าสูง ๆ ได้ผ่านการผ่อนชำระรายเดือน แต่ด้วยความสะดวกสบายที่บัตรเครดิตมอบให้ ทำให้หลาย ๆ คนเผลอใช้จนเกินตัว กว่าจะรู้สึกตัวก็กลายเป็นหนี้บัตรเครดิตเสียแล้ว

หนี้บัตรเครดิตคือ หนี้ที่เกิดจากที่ผู้ใช้บัตรเครดิตไม่ได้ชำระหนี้ตามกำหนดเวลา และเมื่อผู้ใช้บัตรเครดิตไม่สามารถใช้หนี้ได้ทันเวลา ผู้ใช้บัตรเครดิตก็จะต้องจ่ายดอกเบี้ยหรือค่าปรับอื่น ๆ ให้กับบริษัทเครดิต จนกว่าจะสามารถจะชำระเงินที่ค้างไว้จนหมด 


หนี้บัตรเครดิต ส่งผลเสียอย่างไรบ้าง

บางคนติดบัตรเครดิตในการใช้จ่ายจนเป็นนิสัย ทำให้ติดหนี้บัตรเครดิตไม่มีจ่าย แล้วคุณเชื่อหรือไม่ การที่คุณหยุดจ่ายบัตรเครดิตจะส่งผลเสียมากเพียงใด หากหยุดจ่ายบัตรเครดิต 1 เดือน หรือ 2 เดือน คุณอาจจะต้องเสียอัตราดอกเบี้ยและถูกบันทึกข้อมูลการผิดนัดชำระจากสถาบันการเงินเจ้าของบัตร แต่ถ้ามียอดค้างชำระเกิน 3 เดือน หนี้ที่เกิดขึ้นจะกลายเป็นหนี้เสียบัตรเครดิตทันที รวมถึงผลเสียอื่น ๆ ดังนี้

  • การถูกทวงถามหนี้บัตรเครดิตค้างชำระจากสถาบันการเงินเจ้าของบัตร เช่น การโทรศัพท์ทวงถาม การส่งข้อความ SMS การส่งอีเมล การส่งจดหมายตามที่อยู่ที่แจ้งไว้ เป็นต้น
  • มีประวัติการค้างชำระหนี้บัตรเครดิตในเครดิตบูโร ส่งผลให้การทำธุรกรรมทางการเงินต่าง ๆ ของคุณ เช่น การขอสินเชื่อ การสมัครบัตรเครดิต เป็นเรื่องที่ยากมากยิ่งขึ้น และอาจจะไม่ได้รับอนุมัติ หรือหมดสิทธิ์ทำธุรกรรมใด ๆ ทั้งสิ้น
  • การโดนฟ้องศาลและถูกยึดทรัพย์ เพราะคดีบัตรเครดิตถือเป็นคดีแพ่งตามกฎหมาย และหากลูกหนี้เพิกเฉยไม่ยอมติดต่อเจ้าหนี้ เจ้าหนี้อาจให้ทนายทำเรื่องขอยึดทรัพย์ หรืออายัดเงินเดือนได้

หนี้บัตรเครดิตมีผลต่อกฎหมายอย่างไร

หนี้บัตรเครดิตมีผลตามกฎหมายอย่างแน่นอน เพราะเมื่อเราตัดสินใจทำบัตรเครดิตแล้ว ย่อมหมายถึงการยินยอมปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถาบันการเงินเจ้าของบัตร ดังนั้น เมื่อเราชำระหนี้บัตรเครดิตคืนบางส่วน หรือไม่ชำระคืน หรือชำระคืนไม่ตรงตามกำหนดเวลา สถาบันการเงินจะคิดดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมเพิ่มเติม

และเมื่อเราเป็นหนี้บัตรเครดิตไม่จ่าย ก็จะทำให้เราขาดความน่าเชื่อถือด้านการเงิน และสถาบันการเงินจะรายงานข้อมูลการค้างชำระไปยังบริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด หรือ เครดิตบูโร ส่งผลให้เรามีประวัติเสียด้านการเงิน และทำให้ขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินได้ยากขึ้น

ยิ่งถ้าหากเราไม่จ่ายหนี้บัตรเครดิต จนทำให้มีหนี้บัตรเครดิตค้างชำระจำนวนมาก และเป็นระยะเวลานานเกินสมควร สถาบันการเงินเจ้าของบัตรจะส่งเรื่องฟ้องศาล โดยให้เราชำระหนี้ หรือการชดใช้ค่าเสียหายตามที่เห็นสมควร อายุความฟ้องบัตรเครดิตอยู่ที่ 2 ปี และอาจจะมีการยึดทรัพย์ หรืออายัดเงินเดือนได้


รวม 9 วิธีแก้หนี้บัตรเครดิต ฉบับยั่งยืน

หนี้บัตรเครดิตกลายเป็นปัญหาหนักใจของใครหลาย ๆ คนที่อยากแก้ให้ได้ โดยในวันนี้ เราได้เตรียม 9 วิธีสำหรับการแก้หนี้บัตรเครดิตอย่างยั่งยืนที่ได้ผลจริง หากคุณตั้งใจปฏิบัติตามนี้

1. ปิดบัตรเครดิตที่ไม่ได้ใช้ 

รวมหนี้บัตรเครดิต

วิธีแรกสุดของการปลดหนี้บัตรเครดิต คือ การปิดบัตรเครดิตที่ไม่ได้ใช้ โดยปกติ เราจะมีบัตรเครดิตไว้หลายใบ เพื่อเตรียมตัวสำหรับเหตุการณ์ฉุกเฉิน แต่ในสถานการณ์ที่เราติดหนี้บัตรเครดิตอยู่นั้น เราจำเป็นต้องรีบบริหารจัดการและป้องกันไม่ให้หนี้บัตรเครดิตเพิ่มมากขึ้น

เพราะการที่เราปิดบัตรเครดิตที่ไม่ได้ใช้ จะเป็นการตัดวงจรของการที่ใช้บัตรเครดิตไปเรื่อย ๆ เพราะเมื่อใช้บัตรใบหนึ่งครบวงเงิน ก็ใช้อีกใบต่อ ก็จะเป็นการเพิ่มหนี้บัตรเครดิตอย่างไม่รู้จบ อีกทั้งการปิดบัตรเครดิตที่ไม่ได้ใช้ จะเป็นประเมินหนี้บัตรเครดิตทั้งหมดที่เรามีอยู่อย่างชัดเจน

2. วางแผนการเงินและมีวินัยทางการเงินมากขึ้น 

เป็นหนี้บัตรเครดิต

วิธีถัดมาสำหรับคนที่ยังค้างหนี้บัตรเครดิตอยู่ คือ การวางแผนการเงินและมีวินัยทางการเงินมากขึ้น โดยเริ่มจากการแจกแจงรายรับและรายจ่ายของตัวเองในแต่ละเดือนเสียก่อน เพื่อให้เราสามารถประมาณการค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะในส่วนของค่าที่พัก ค่าเดินทางไปทำงาน ค่าน้ำ / ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ค่าอาหารโดยเฉลี่ย และค่าใช้จ่ายจิปาถะอื่น ๆ ตามไลฟ์สไตล์ของเรา

เมื่อเราเห็นรายจ่ายทั้งหมดแล้ว จะทำให้เราสามารถตัดรายการรายจ่ายที่ไม่จำเป็นออกไปได้ เราก็จะนำมาเทียบกับรายรับที่เราได้รับ เพื่อนำเงินส่วนต่างที่เหลือมาปลดหนี้บัตรเครดิตที่ค้างอยู่ โดยที่เราก็ต้องมีวินัยปฏิบัติตามแผนการเงินที่ตั้งไว้

3. ปรับพฤติกรรมการใช้จ่ายบัตรเครดิต

ติดหนี้บัตรเครดิต

จากการวางแผนการเงินที่เราตัดรายการที่ไม่จำเป็นออกไปแล้ว หากอยากแก้หนี้บัตรเครดิตไว ๆ เราก็ต้องเริ่มปรับพฤติกรรมการใช้จ่ายบัตรเครดิต โดยซื้อของด้วยเงินสดและซื้อเฉพาะของที่จำเป็น เพื่อลดปริมาณหนี้บัตรเครดิตที่จะเพิ่มขึ้น และการใช้จ่ายด้วยเงินสด จะทำให้คุณเห็นจำนวนเงินที่มี และกล้าใช้เงินน้อยลง

แต่การที่เราเป็นหนี้บัตรเครดิต ก็ไม่ได้หมายความว่าจะให้เลิกใช้บัตรเครดิตอย่างเด็ดขาด เพราะข้อดีข้อหนึ่งของบัตรเครดิตก็คือ สิทธิพิเศษต่าง ๆ ที่จะได้รับ ดังนั้น เราจึงต้องเช็กโปรโมชั่นหรือสิทธิพิเศษจากบัตรเครดิตก่อนตัดสินใจรูดบัตรด้วย เพราะเราอาจจะได้รับส่วนลดต่าง ๆ มากขึ้น

4. หยุดการจ่ายบัตรเครดิตขั้นต่ำ

เป็นหนี้บัตรเครดิต10ปี

อีกหนึ่งสาเหตุของการเป็นหนี้บัตรเครดิตจ่ายไม่ไหว คือ การที่เราเลือกจ่ายขั้นต่ำ เพราะเดิมทีอัตราดอกเบี้ยของบัตรเครดิตเองก็สูงอยู่แล้ว และการที่เราเลือกจ่ายแค่ขั้นต่ำ จึงเป็นเหมือนการจ่ายแค่ดอกเบี้ยบัตรเครดิตเท่านั้น แต่เงินต้นไม่ลดลงเลย ดังนั้น เราจึงควรที่จะจ่ายให้มากกว่าจำนวนขั้นต่ำนั่นเอง

5. เจรจากับสถาบันการเงินที่เป็นเจ้าของบัตร 

แก้หนี้บัตรเครดิต

ลำดับถัดมาของการปลดหนี้บัตรเครดิต คือ การเจรจากับสถาบันการเงินที่เป็นเจ้าของบัตร เพื่อป้องกันการถูกฟ้องบัตรเครดิตจนต้องขึ้นศาลได้ ซึ่งโดยปกติแล้ว สถาบันการเงินจะมีมาตรการช่วยเหลืออยู่แล้ว เพียงแค่เราเข้าไปเจรจาและตกลงแนวทางการชำระหนี้บัตรเครดิต เช่น

  • ช่วยขยายระยะเวลาผ่อนชำระหนี้บัตรเครดิต
  • ช่วยลดอัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิตให้
  • หยุดการคิดอัตราดอกเบี้ยชั่วคราว
  • ลดหย่อนหนี้บัตรเครดิต หรือลดหนี้ค้างชำระบางส่วน
  • ปรับโครงสร้างหนี้บัตรเครดิต

6. การรวมหนี้ 

รวมหนี้บัตร

สำหรับคนที่มีหนี้บัตรเครดิตหลายใบ เราขอแนะนำให้คุณรวมหนี้บัตรเครดิตเป็นก้อนเดียว เพราะการรวมหนี้บัตร จะทำให้คุณบริหารจัดการและการผ่อนชำระหนี้ได้ง่ายขึ้น และสามารถปรับอัตราดอกเบี้ยที่มีอยู่แต่เดิมให้ลดลงได้อีกด้วย แต่ทั้งนี้ ก็ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของสถาบันการเงินนั้น ๆ ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 วิธี คือ

  • การรวมหนี้บัตรเครดิตหลายใบมาเป็นสินเชื่อบุคคลกับสถาบันการเงินเดียว เพื่อให้ดอกเบี้ยลดลง
  • การทำให้สินเชื่อรวมหนี้บัตรเครดิต โดยเฉพาะหนี้สินเชื่อบ้าน ให้กลายเป็นหนี้ก้อนเดียวกันในสถาบันการเงินเดียวกัน เพื่อช่วยลดภาระเรื่องดอกเบี้ยและการผ่อนค่างวด

7. เปลี่ยนหนี้บัตรเครดิตให้กลายเป็นสินเชื่อระยะยาว

สินเชื่อรวมหนี้บัตรเครดิต

วิธีถัดมาสำหรับคนที่ค้างหนี้บัตรเครดิต คือ การเปลี่ยนหนี้บัตรเครดิตให้กลายเป็นสินเชื่อระยะยาวที่สามารถช่วยลดค่างวด ขยายระยะเวลาชำระหนี้ และได้รับดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าดอกเบี้ยบัตรเครดิตเดิมของเราได้ เริ่มจาก

  • สำรวจรายรับและรายจ่ายของเราในแต่ละเดือน เพื่อประเมินความสามารถในการผ่อนชำระหนี้
  • ติดต่อสถาบันการเงินที่เรามีหนี้บัตรเครดิต และขอเปลี่ยนหนี้บัตรเครดิตเดิมให้กลายเป็นสินเชื่อระยะยาว
  • รอสถาบันการเงินอนุมัติ โดยพิจารณาจากวงเงินของบัตรเครดิตของเรา เพื่อใช้คิดดอกเบี้ยในอัตราไม่เกินร้อยละ 12 ต่อปี และร้อยละ 22 ต่อปี 

8. กู้สินเชื่อส่วนบุคคลที่มีดอกเบี้ยต่ำ

หนี้เสียบัตรเครดิต

สำหรับคนที่ต้องการปลดหนี้บัตรเครดิตให้ไวที่สุด อาจจะเลือกการปิดหนี้บัตรเครดิตด้วยเงินก้อน โดยการกู้สินเชื่อส่วนบุคคลที่มีดอกเบี้ยต่ำ เพื่อนำมาปิดหนี้บัตรเครดิตที่มีดอกเบี้ยสูงกว่าได้ แต่ทั้งนี้ เราจะต้องศึกษาข้อมูลและเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ย รวมถึงระยะเวลาในการผ่อนชำระให้ดี

9. รีไฟแนนซ์บัตรเครดิต 

หนี้บัตรกดเงินสด

วิธีสุดท้ายของการแก้หนี้บัตรเครดิต คือ การรีไฟแนนซ์บัตรเครดิต หากเรามีหนี้บัตรเครดิตหลายใบและให้รวมหนี้บัตรเครดิตเป็นก้อนเดียว เพื่อนำไปหาสถาบันการเงินแห่งใหม่ เพื่อขอทำการผ่อนชำระด้วยอัตราดอกเบี้ยที่น้อยกว่าเดิม โดยเริ่มจาก

  • รวมหนี้บัตรเครดิตทุกใบ
  • ประเมินความสามารถในการผ่อนชำระ
  • ติดต่อของรีไฟแนนซ์กับสถาบันการเงินที่มีอัตราดอกเบี้ยคุ้มค่าที่สุด

แนวทางใช้บัตรเครดิตอย่างปลอดภัย ห่างไกลหนี้

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ไม่อยากค้างหนี้บัตรเครดิต3เดือน หรือเป็นหนี้บัตรเครดิต10 ปี คุณก็ควรจะต้องระมัดระวังการใช้จ่ายด้วยบัตรเครดิตให้มาก โดยเรามีแนวทางใช้บัตรเครดิตอย่างปลอดภัย ห่างไกลหนี้มาฝาก ดังนี้

  • ประเมินไลฟ์สไตล์ในการใช้จ่าย เพื่อเลือกใช้บัตรเครดิตที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของเราได้
  • ตรวจสอบเงื่อนไขการชำระค่าธรรมเนียมแรกเข้า ค่าธรรมเนียมรายปี และดอกเบี้ยบัตรเครดิต
  • เช็กความสามารถในการชำระค่าบัตรเครดิตต่อเดือน เพื่อลดโอกาสการสร้างหนี้บัตรเครดิต
  • จำกัดวงเงินที่จะใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตได้ต่อวัน
  • เช็กสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ก่อนที่จะนำบัตรเครดิตไปรูดใช้เสมอ เพื่อเพิ่มความคุ้มค่า เช่น การสะสมคะแนน ส่วนลดพิเศษจากร้านค้า เครดิตเงินคืน (Cash Back) ผ่อนชำระสินค้าดอกเบี้ย 0% เป็นต้น
  • ชำระค่าบัตรเครดิตให้ตรงเวลา หลีกเลี่ยงการจ่ายขั้นต่ำ เพื่อเลี่ยงการเป็นหนี้บัตรเครดิต
  • ไม่ควรกดเงินสดจากบัตรเครดิต เพราะดอกเบี้ยในการกดเงินสูงกว่าสินเชื่อส่วนบุคคล หรือบัตรกดเงินสด

ข้อสรุป 

หนี้บัตรเครดิตอาจจะเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เพราะแต่ละคนก็มีการใช้จ่ายและความจำเป็นที่แตกต่างกัน แต่สิ่งที่เราจะต้องแก้ปัญหา คือ การบริหารจัดการปลดหนี้บัตรเครดิต เพื่อไม่ให้ตัวเองติดเครดิตบูโรและโดนฟ้องบัตรเครดิตได้ ด้วย 9 วิธีแก้หนี้บัตรเครดิตที่เราแนะนำ ไม่ว่าจะเป็นการปิดบัตรเครดิตที่ไม่ได้ใช้ การวางแผนการเงิน การปรับพฤติกรรมการใช้บัตรเครดิต การรวมหนี้ รวมถึงการรีไฟแนนซ์ เป็นต้น เพียงเท่านี้ เราก็จะสามารถใช้บัตรได้อย่างปลอดภัย ห่างไกลหนี้บัตรเครดิตแล้ว


Similar Posts