Burn out คืออไร

Burn out คือภาวะหมดไฟ ภาวะที่พบได้บ่อยในวัยทำงาน

Burn out คืออไร

ในยุคที่ทุกอย่างเร่งรีบ ภาระงานท่วมหัว คุณเคยไหม? รู้สึกไม่มีเรี่ยวแรงกับการทำงานในแต่ละวันกำลังจะหมดไป ไม่ใช่แค่แรงกายที่เหนื่อยแต่สุขภาพจิตใจก็ย่ำแย่ลงไปด้วย เหมือนแบตเตอรี่กำลังจะหมดลง   นี่คือภาวะหนึ่งที่เรียกว่า Burn out คือ อาการหมดไฟ ความเหนื่อยล้าและความเครียดสะสมในการทำงานหรือชีวิตประจำวันอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน จนมีทัศนคติลบและไร้ความเชื่อมั่นในตนเอง


Burn out คือภาวะหมดไฟที่ควรให้ความสำคัญ

Burn out คือ ภาวะทางอารมณ์ที่รู้สึกหมดไฟ หมดกำลังใจ เกิดจากความเครียดเรื้อรังจากงานที่ทำ เปรียบเสมือนแบตเตอรี่ทางจิตใจและอารมณ์ที่ถูกใช้ไปจนหมดสิ้นลง ภาวะ Burn out นี้มาจากแรงกดดันและความต้องการทั้งของตนเองและผู้อื่นที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง อาจนำไปสู่ปัญหาทางร่างกาย ภาวะซึมเศร้า และปัญหาความสัมพันธ์


สาเหตุ Burn out คืออะไรบ้าง

ความรู้สึกหรือภาวะที่ร่างกายหมดเรี่ยวแรงกายและใจสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ มาดูกันว่า สาเหตุ Burn out คืออะไรบ้าง

  • ทำงานหนัก งานล้นมือ แต่รู้สึกว่าความพยายามสูญเปล่า ไม่เห็นคุณค่าเหมือนวิ่งอยู่บนสายพาน ไปไม่ถึงไหนสักที
  • เพื่อนร่วมงานหรือหัวหน้า ไม่ใช่ทีม ไม่มีใครคอยสนับสนุน เหมือนโดดเดี่ยวกลางทะเลทราย
  • ขาดสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานกับชีวิตส่วนตัว โหมงานหนักไม่มีเวลาพักผ่อน
  • กดดันตัวเองมากเกินไป หมายถึงอยู่กับความเครียดสะสม ความกังวลใจที่รู้สึกว่าตนเองยังทำได้ไม่ดีพอเท่าที่หวังไว้

Burn out มีกี่ระยะ ลักษณะเป็นอย่างไร

Burn out syndrome อาการ
  1. ระยะฮันนีมูน (The Honeymoon) Burn out ในระยะนี้คือ อาจเริ่มรู้สึกว่างานเริ่มทำให้เหนื่อยหรือไม่มีความสุขเท่าที่ควร อาจมีความรู้สึกเหนื่อยล้าทั้งกายและใจในบางช่วงเวลาของวันหรือในบางสถานการณ์ เช่น งานล้นมือ เจ้านายกดดัน
  2. ระยะรู้สึกตัว (The Awakening) เริ่มรู้สึกมีการเครียดและตึงเครียดมากขึ้นความเครียดนี้อาจมาจากการต้องทำงานในสภาวะที่มีความซับซ้อนหรือมีปัญหา การรับผิดชอบมากขึ้น ทุกอย่างไม่เป็นไปตามเป้าหมาย หรือการต้องเผชิญกับแรงกดดันจากงานหรือสถานการณ์ส่วนตัวจึงทำให้ประสบภาวะหมดไฟ
  3. ระยะไฟตก (Brownout) เปรียบเสมือนสัญญาณเตือนภัยของ Burn out Syndrome ในระยะนี้ บุคคลจะเริ่มเผชิญกับความท้าทายทางอารมณ์และพฤติกรรมที่ส่งผลต่อทั้งชีวิตส่วนตัวและการทำงาน มีความเหนื่อยล้าเรื้อรัง รู้สึกอ่อนเพลียทั้งร่างกายและจิตใจ พักผ่อนไม่เพียงพอ อารมณ์แปรปรวน ควบคุมอารมณ์ได้ยาก
  4. ระยะหมดไฟเต็มที่ (Full scale of Burn out) Burn out ในระยะนี้คือ เป็นสัญญาณอันตรายที่ต้องรีบขอความช่วยเหลือ บุคคลจะสูญเสียพลังงานทั้งทางร่างกายและจิตใจ ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อทุกแง่มุมของชีวิต รู้สึกท้อแท้ สิ้นหวัง มองตัวเองในแง่ลบ และมองไม่เห็นทางออก รวมถึงมีภาวะแทรกซ้อนทางสุขภาพ ปวดท้อง ปวดศีรษะ และอ่อนเพลียง่าย
  5. ระยะฟื้นตัว (The Phoenix Phenomenon) ช่วงเวลาที่ผู้ป่วยเริ่มฟื้นฟูใจและกายกลับคืนมา หลังจากหมดไฟในการใช้ชีวิต ได้พักและปรับมุมมองเห็นโอกาสที่จะเริ่มต้นใหม่ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของต้นให้สมดุลมากขึ้น รู้สึกมีแรง มีพลังในการทำงาน ทำกิจกรรมต่าง ๆ ต่อไป

อาการที่บ่งบอกว่าตนเองมีภาวะ Burn out 

อาการ Burn out คือ ภาวะอ่อนเพลียเรื้อรังทางอารมณ์ จนส่งผลไปยังพฤติกรรม อารมณ์ และความคิด เกิดเป็นอาการที่ผิดปกติจากนิสัยเดิมที่เคยเป็น แบ่งอาการต่าง ๆ ออกเป็นดังนี้

อาการด้านอารมณ์ เช่น รู้สึกตึงเครียด กังวล รู้สึกเหนื่อยหน่าย ไม่ไปอยากทำงาน ควบคุมอารมณ์และรู้สึกแยกตัวออกจากสังคม

อาการด้านความคิด ที่มักพบในบุคคลที่มีภาวะหมดไฟ (Burn out) คือ มองโลกและสถานการณ์ในแง่ลบเสมอ มองเห็นสิ่งที่ผิดพลาดมากกว่าสิ่งที่ดี จนไม่สามารถทำงานหรือตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อาการด้านพฤติกรรม ในภาวะเบิร์นเอ้าท์ คือ เมื่อไม่มีความรู้สึกเต็มใจ หรือไม่มีแรงจูงใจที่จะทำงานนั้น ๆ ส่งผลให้ทำงานผิดพลาด ทำงานสะเพร่า และเฉื่อยชาจนทำงานได้ช้าลง บางรายจากเป็นคนชอบสังคมกลับเก็บตัวไม่อยากพบปะผู้คน


อาการแทรกซ้อนจากการ Burn out

อาการหมดไฟ
  • อาการนอนไม่หลับ ความเครียดจาก Burn out คือทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนที่ส่งผลต่อระบบประสาทอัตโนมัติ กระตุ้นให้ร่างกายตื่นตัวและพร้อมต่อสู้หรือหนี ทำให้ยากที่จะผ่อนคลายและหลับ
  • น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น-ลดลง บางคนอาจต้องการทานเพื่อปลอบใจ ฮีลใจจนทานมากกว่าปกติจนน้ำน้ำหนักขึ้น หรือบางคนอาจทานได้น้อยลง เบื่ออาหารจนทำให้น้ำหนักลดลง
  • ออฟฟิศซินโดรม ด้วยการทำงานอย่างหักโหม ไม่มีเวลาพักผ่อนสะสมมาเรื่อย ๆ ทำให้ร่างกายมีอาการปวดคอบ่าไหล่ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อบริเวณต่าง ๆ จนเป็นออฟฟิศซินโดรม
  • เสี่ยงต่อการเกิดโรคซึมเศร้า ความเครียดสะสม ไม่อยากทำอะไร รู้สึกเศร้า หดหู่ มองตัวเองในแง่ลบ อาการหมดไฟนี้อาจเป็นสัญญาณเตือนโรคซึมเศร้า
  • เครียดเรื้อรัง คิดวนเวียน คิดมากในทุกเรื่อง แม้จะเป็นเรื่องที่ยังไม่เกิดขึ้น

วิธีรับมือภาวะหมดไฟ Burn out

มาดูกันว่าวิธีรับมือกับภาวะหมดไฟในการทํางานมีอะไรบ้างที่จะช่วยได้ หรือวิธีแก้อาการ Burn out ต้องทำอย่างไร

  • จัดการความเครียด
  • ฝึกสมาธิให้จิตใจสงบนิ่ง
  • ทำกิจกรรมที่ชอบ หรือหากิจกรรมใหม่ ๆ ทำ
  • หยุดพัก เพื่อขจัดความเครียด
  • นอนหลับให้เพียงพอ
  • จัดสรรเวลาให้เหมาะสมทั้งเวลางาน และเวลาพักผ่อน
  • พูดคุย ปรึกษากับคนรอบข้าง
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  • ปรึกษานักจิตวิทยาหรือนักบำบัด

Burn out ต้องพักเพื่อเติมไฟ

เมื่อเรารู้ว่าตนเองประสบกับภาวะ Burn out การเรียนรู้ที่จะรับมือและจัดการกับอารมณ์ที่เกิดขึ้นในภาวะหมดไฟคือมีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากอาจมีผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อสุขภาพทางกายและจิตใจ การพูดคุยกับคนที่ไว้วางใจหรือคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญสามารถช่วยให้คุณได้รับการสนับสนุนและการช่วยเหลือในการจัดการกับอารมณ์ได้อย่างเหมาะสม


Similar Posts