ตรวจค่าไต

ตรวจค่าไต สำคัญอย่างไร ทำความรู้จักการตรวจค่าไตเบื้องต้น

ไต เรียกได้ว่าเป็นอวัยวะที่สำคัญอย่างมากเพราะหน้าที่ของไตคือการขจัดของเสียและปรับสมดุลเกลือแร่แก่ร่างกาย ซึ่งหากไตทำงานผิดปกติหรือล้มเหลวจะส่งผลร้ายแรงแก่ชีวิตได้ การตรวจค่าไตจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ช่วยให้คุณรับรู้ได้ว่าสภาพการทำงานของไตว่าอยู่ในระดับไหน มีความเสี่ยงหรือก่อให้เกิดโรคอะไรหรือไม่เพื่อการรักษาได้อย่างรวดเร็ว แล้วค่าไตปกติเท่าไหร่ อายุกับค่าไตสัมพันธ์กันหรือไม่ มีเครื่องตรวจค่าไตแบบใดบ้าง ในบทความนี้มีคำตอบ


ตรวจค่าไต

การตรวค่าไต (Renal Function Test) เป็นการตรวจเช็คสภาพการทำงานของไตผ่านของเสียที่ถูกขับออกมาอย่างปัสสาวะรวมไปถึงการเจาะเลือดตรวจค่าไตเพื่อหาสารยูเรีย ซึ่งการตรวจเช็คค่าไตนั้นมีอยู่ด้วยกันหลากหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นวิธีตรวจค่าไตแบบ BUN, การตรวจครีเอทินิน หรือ eGFR เพื่อเช็คอัตรากรองของเสียของไต

รู้จักโรคไต

โรคไต (Kidney Diseases) คือสภาวะเสื่อมหรือไตมีประสิทธิภาพในการทำงานลดลง ส่งผลให้การขจัดของเสียออกจากร่างกายนั้นผิดปกติจนนำไปสู่ปัญหาสุขภาพอื่นตามมา อย่างเช่น โรคกระดูกพรุน โดยการเสื่อมของไตอาจเกิดได้จากโรคเบาหวานหรือความดันโลหิตสูง ซึ่งหากอาการรุนแรงอาจเสี่ยงต่อภาวะไตวายได้


ทำไมเราต้องตรวจค่าไต

  • เพื่อป้องกันโรคที่อาจเกิดขึ้นได้จากความผิดปกติของค่าไต ซึ่งหากเจอแต่เนิ่น ๆ จะทำให้ป้องกันได้อย่างรวดเร็ว
  • คุณควรตรวจค่าไตเพื่อตรวจเช็คสุขภาพไตว่าเป็นอย่างไร รวมถึงประเมิณหาปัจจัยเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้เพื่อหาแนวทางในการป้องกันก่อนโรคที่อาจเกิดขึ้น
  • เนื่องจากอาการในช่วงระยะแรกเริ่มของโรคโดยส่วนใหญ่มักไม่แสดงอาการ ดังนั้นการตรวจค่าไตจะช่วยเพิ่มโอกาสในการรักษาโรคได้ทันท่วงทีตั้งแต่ระยะเริ่มต้นของอาการ
  • ตรวจค่าไตเพื่อชะลอการเสื่อมของไต ลดความเสี่ยงในการต้องรักษาโดยการฟอกเลือดหรือการบำบัดทนแทนไตซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูง
  • ตรวจเพื่อเช็คหาปัจจัยเสี่ยงสำหรับบุคคลสูงอายุ, เป็นโรคเบาหวาน, ความดันโลหิตสูง, น้ำหนักเกิน, เคยสูบบุหรี่หรือมีคนในครอบครัวเคยเป็นโรคไตชนิดเรื้อรัง

รูปแบบการตรวจค่าไต

การตรวจค่าการทํางานของไตสามารถตรวจค่าไตได้จากตัวอย่างปัสสาวะและตัวอย่างเลือด ซึ่งตัวอย่างทั้งสองชนิดนี้เกี่ยวข้องกับการทำงานของไตโดยตรง

การตรวจปัสสาวะ (Urine Analysis)

การตรวจปัสสาวะ เป็นหนึ่งในการตรวจค่าไต ที่นำตัวอย่างปัสสาวะไปวิเคราะห์หาสารและองค์ประกอบต่าง ๆ ภายในปัสสาวะว่าพบสิ่งแปลกปลอมหรือไม่ การที่ตรวจพบสิ่งแปลกปลอมในปัสสาวะนั่นอาจหมายความว่าการทำงานของไตผิดปกตินั่นเอง

การตรวจเลือด (Blood Analysis)

การตรวจเลือดสำหรับการตรวจค่าไตนั้นจะวิเคราะห์องค์ประกอบของเลือดว่ามีปริมาณสารจำเพาะบางอย่างในปริมาณที่เหมาะสมหรือไม่ หากค่าเหล่านี้ออกมาผิดปกติก็แสดงได้ว่าไตอาจทำงานผิดปกติหรือเสื่อมสภาพ


การเตรียมตัวก่อนตรวจค่าไต

การตรวจค่าไตเป็นการตรวจจากตัวอย่างเลือดและปัสสาวะ ซึ่งอาหารที่รับประทานเข้าไปอาจทำให้ผลเลือดและปัสสาวะเกิดการคลาดเคลื่อน ดังนั้นการตรวจค่าไตต้องอดอาหารไหม ? คำตอบคือต้องอดอาหารนั่นเอง โดยการเตรียมตัวก่อนตรวจค่าไต เพื่อให้ผลตรวจออกมาตรวจที่สุดควรปฏิบัติดังนี้

  • 8-12 ชั่วโมงก่อนการตรวจค่าไตจะต้องงดน้ำและอาหาร
  • 24 ชั่วโมงก่อนการตรวจค่าไตงดเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์
  • สำหรับผู้ที่รับประทานยาประจำ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้ง เพราะยายางตัวมีผลให้ค่าไตเพี้ยนไปจากความปกติ

ตรวจค่าไต BUN (Blood Urea Nitrogen)

ตรวจค่าไต BUN

การตรวจค่าไตแบบ BUN (Blood Urea Nitrogen) เป็นการตรวจหาปริมาณยูเรียเพื่อประเมิณผลการทำงานของไตว่าสมบูรณ์มากน้อยเท่าไร การตรวจ bun ต้องดูควบคู่กับผลอื่นอย่างครีเอทินิน หรือ ครีเอทินิน เคลียร์แรนซ์ควบคู่ไปด้วย โดยค่า BUN ปกติสำหรับผู้ใหญ่จะอยู่ที่ 10-20 mg/dL และสำหรับเด็กที่ 5-18 mg/dL


ตรวจค่าไต Creatinine

ตรวจค่าไต Creatinine

การตรวจค่าไต Cretinine ในเลือด หรือเรียกอีกอย่างว่าตรวจ creatinine คือการตรวจครีเอทินินอันเป็นของเสียที่ถูกขับออกจากไตผ่านทางปัสสาวะ โดยของเสียนี้เกิดจากกล้ามเนื้อ Creatinine ค่า ปกติสำหรับผู้ชายจะอยู่ที่ 0.7-1.3 mg/dL และสำหรับผู้หญิงอยู่ที่ 0.6-1.1 mg/dL ซึ่งปริมาณที่เพิ่มขึ้นของครีเอทินินในเลือดบ่งบอกได้ว่าระสิทธิภาพการทำงานของไตนั้นลดลง


ตรวจค่าไต BUN / Creatinine Ratio

BUN  Creatinine Ratio

การตรวจค่าไตแบบ BUN / Creatinine Ratio หรือ bun creatinine คือการตรวจเพื่อวินิจฉัยและบ่งชี้ว่าไตกำลังเกิดโรคหรือมีปัญหาใดหรือไม่ จากผลลัพทธ์ที่ได้จากการคำนวณอัตราส่วนระหว่างค่า BUN (Blood Urea Nitrogen) หารด้วยค่า ครีเอทินิน (Creatinine) ซึ่งค่าปกติ bun creatinine จะอยู่ที่ 10-20 : 1 และในกรณีเด็กทารกอายุต่ำกว่า 12 เดือนจะอยู่ที่ 30 : 1


ตรวจค่าไต eGFR

eGFR

การตรวจค่าไตแบบ eGFR (Estimated glomerular filtration rate) คือการตรวจหาอัตราการกรองของเสียของไตในระยาเวลาหนึ่งนาที คำนวณจากเพศ อายุ เชื้อชาติ และค่าครีเอทินินของผู้รับการตรวจ โดยค่าปกติของ egfr จะอยู่ที่ 125 มล./นาที และหากผลที่ได้นั้นพบว่าต่ำกว่า 90 มล./นาที แสดงว่าไตเข้าสู่ระยะเสื่อมแล้ว โดยสามารถแบ่งระดับความรุนแรงของอาการออกเป็น 5 ระยะ ดังนี้

  • ระยะที่ 1 ค่า GFR มากกว่าหรือเท่ากับ 90 มล./นาที บ่งชี้ว่าไตเริ่มมีการอักเสบแต่ยังทำงานได้ปกติ
  • ระยะที่ 2 ค่า GFR เท่ากับ 60-89 มล./นาที ไตมีการทำงานผิดปกติเล็กน้อย
  • ระยะที่ 3 ค่า GFR เท่ากับ 30-59 มล./นาที ไตมีการทำงานผิดปกติปานกลาง
  • ระยะที่ 4 ค่า GFR เท่ากับ 15-29 มล./นาที ไตมีการทำงานผิดปกติอย่างมาก
  • ระยะที่ 5 ค่า GFR น้อยกว่า 15 มล./นาที ระยะสุดท้ายของไต รักษาด้วยการใช้ไตเทียมล้างไตเท่านั้น

ตรวจค่าไต Creatinine Clearance

ตรวจค่าไต Creatinine Clearance 

การตรวจค่าไตแบบ Creatinine Clearance จะคล้ายกับ eGFR แต่ละเอียดกว่าโดยเป็นการตรวจประเมิณอัตราการกรองของไตจากค่าครีเอทินินจากเลือดและจากปัสสาวะที่เก็บไว้ 24 ชั่วโมง โดยการตรวจลักษณะนี้มักเป็นการตรวจแบบพิเศษตามคำสั่งของแพทย์ ค่าปกติของ Creatinine Clearance สำหรับผู้ชายจะอยู่ที่ 97-137 ml/min และสำหรับผู้หญิง 88-128  ml/min


แนวทางการรักษาโรคไต

หากผลตรวจค่าไตบ่งบอกว่าผู้ป่วยมีความเสี่ยงในการเป็นโรคไต หรือเป็นโรคไตแน่นอน แพทย์จะมีแนวทางรักษาโรคไตที่แตกต่างกันขึ้นกับอาการและความรุนแรงของโรค โดยวิธีรักษาโรคไตมีดังนี้

การรักษาเพื่อชะลอการเสื่อมของไต

สำหรับผู้ป่วยที่ค่าไตมีความผิดปกติไม่มาก แสดงได้ถึงระดับความรุนแรงของโรคไตยังอยู่ในระดับน้อย ซึ่งสามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยารักษาอาการต่าง ๆ ที่เกิดจากโรคไต รวมถึงอาจให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อให้ค่าไตกลับมาใกล้เคียงปกติมากที่สุด

  • การรักษาด้วยยา

ยาที่ใช้รักษาโรคไต มีทั้งยาที่ใช้รักษาตามอาการ และยาที่ช่วยชะลอการเสื่อมสภาพของไต แพทย์จะพิจารณาการจ่ายยาให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละคน

  • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

เพราะพฤติกรรมเสี่ยงจะยิ่งทำให้ไตเสื่อมสภาพเร็วขึ้น การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจะเป็นการช่วยให้ไตไม่ทำงานหนักจนเกินไป จนไปทำให้ไตเสื่อมสภาพ เช่น 

  • การควบคุมความดันโลหิต 
  • ควบคุมระดับน้ำตาล 
  • ควบคุมอาหาร
  • ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม
  • งดสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์

การรักษาสำหรับผู้ป่วยที่ไตไม่สามารถทำงานได้อีกต่อไป

กรณีที่ไตเสียหายหนักจนไม่สามารถทำงานได้อีกต่อไป แพทย์จะมีวิธีรักษาเพื่อให้ร่างกายสามารถทำงานได้ใกล้เคียงปกติที่สุด 

  • การฟอกเลือด (Dialysis)

ไตที่ไม่สามารถกำจัดของเสียออกจากเลือดได้แล้วจะทำให้สารพิษตกค้างและนำมาสู่อันตรายถึงชีวิต ดังนั้นเพื่อเป็นการกำจัดของเสียในเลือดแทนไต จึงจำเป็นต้องทำการฟอกเลือด ในปัจจุบันสามารถฟอกเลือดได้ 2 แบบคือ

  • การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (Hemodialysis) : โดยเครื่องไตเทียมจะทำการกรองของเสียที่อยู่ในเลือดออก และส่งเลือดที่ผ่านการกรองแล้วกลับเข้าสู่ร่างกาย
  • การล้างไตทางช่องท้อง (Peritoneal Dialysis) : ทำโดนการผ่าตัดใส่สายยางสำหรับใส่น้ำยาล้างไตที่ท้อง เมื่อถึงเวลาล้างไต จะทำการใส่น้ำยาล้างไตเข้าไปเพื่อชะล้างสารพิษออกมา
  • การปลูกถ่ายไต (Kidney Transplantation)

ผู้ป่วยที่ไตไม่สามารถทำงานได้อีกต่อไปสามารถเลือกการปลูกถ่ายไตใหม่ได้ โดยไตที่ปลูกถ่ายนั้นจะสามารถทำงานได้เช่นเดียวกับตอนไตปกติ ผู้ป่วยจึงไม่จำเป็นต้องฟอกเลือด ล้างไตให้ลำบากอีกต่อไป แต่การปลูกถ่ายไตนั้นจะต้องได้รับไตจากผู้บริจาคและจะต้องตรวจสอบว่าร่างกายสามารถรับอวัยวะปลูกถ่ายได้หรือไม่


ผู้ที่ควรตรวจค่าไต

ผู้สูงอายุควรตรวจค่าไต

ตรวจค่าไต พบความผิดปกติก่อน รักษาได้ง่ายกว่า ดังนั้นการตรวจไตจึงจำเป็นอย่างยิ่งในการตรวจสุขภาพ และสำคัญอย่างมากในกลุ่มเสี่ยงที่อาจเกิดโรคไต ดังนี้

  • ผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป เสี่ยงต่อการที่อวัยวะไตเสื่อมสภาพ
  • ผู้ที่มีบุคคลในครอบครัวมีประวัติโรคไตเรื้อรัง โรคถุงน้ำในไตจากสาเหตุพันธุกรรม หรือโรคอื่น ๆ ที่ส่งผลให้ไตทำงานผิดปกติอย่างเช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัวที่อาจส่งผลให้ไตทำงานหนักและเสื่อมสภาพเร็ว เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคแพ้ภูมิตนเอง เป็นต้น
  • ผู้ที่ได้รับการตรวจหัวใจ แล้วพบถึงภาวะความดันโลหิตสูงหรือต่ำกว่าปกติ
  • ผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยง เช่น ใช้สารเสพติด
  • ผู้ที่มีอาการเสี่ยง เช่น วิงเวียนศีรษะ เหนื่อยง่าย คลื่นไส้อาเจียน ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะมีเลือดปนหรือเป็นฟอง หน้าบวม ตัวบวม เท้าบวม เป็นต้น
  • ผู้ที่ใช้ยาสมุนไพรหรือยารักษาโรคบางชนิดที่อาจทำให้ไตถูกทำลาย

แนะนำวิธีป้องกันโรคไต

วิธีป้องกันโรคไต งดอาหารรสจัด

ไตเป็นอวัยวะที่สำคัญอย่างมาก เมื่อไตเสื่อมสภาพหรือไม่สามารถใช้งานได้แล้วก็อาจส่งผลร้ายแรงถึงชีวิตได้ ถ้าหากไม่อยากให้ไตเสื่อมสภาพก่อนวัยอันควร ควรดูแลไตด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ถูกสุขลักษณะ เพื่อยืดอายุไตให้ทำงานได้นานขึ้น

  • สำหรับผู้ที่อายุมาก ควรเข้าตรวจค่าไตเพื่อคัดกรองโรคไต หากพบเจอโรคได้เร็วเท่าไหร่ โอกาสการรักษาก็ยิ่งมากขึ้น
  • งดสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์ถาวร ลดการทำงานของไต
  • รับประทานอาหารให้ถูกสุขลักษณะ งดอาหารไขมันสูง อาหารรสจัดที่ส่งผลให้ไตทำงานหนัก
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อวัน
  • ออกกำลังกายในปริมาณที่เหมาะสมอย่างสม่ำเสมอ
  • คุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์
  • ระวังเรื่องการทานยา เพราะยาบางชนิดทำอันตรายต่อไตได้ ก่อนใช้ยาต้องปรึกษาแพทย์และเภสัชก่อนทุกครั้ง

ข้อสรุป

การตรวจค่าไตเป็นหนึ่งในวิธีการคัดกรองโรคไต สามารถบ่งบอกถึงการทำงานของไตได้ว่ายังเป็นไปตามปกติหรือไม่ หรือมีการทำงานที่ผิดปกติอย่างไร ยิ่งหากการตรวจค่าไตพบเจอความผิดปกติได้เร็ว ก็จะยิ่งทำให้สามารถป้องกันและหลีกเลี่ยงโรคแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อชีวิตได้เร็วเท่านั้น


Similar Posts