ปวดเข่า เกิดขึ้นได้กับทุกวัย อาการแบบไหนต้องไปพบแพทย์
การปวดเข่าเป็นอาการพบบ่อย สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ อาจเกิดขึ้นในทุกกลุ่มอายุ ทั้งในวัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ รวมถึงช่วงวัยอื่น ๆ สามารถเกิดอาการได้เช่นเดียวกัน รวมทั้งมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตความสามารถในการเคลื่อนไหว ในบางกรณีปวดเข่าอาจก่อให้เกิดความเจ็บป่วย มีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
บทความนี้ได้รวบรวมสาระดี ๆ เกี่ยวกับอาการปวดเข่ามาฝากทุกคน ทั้งอาการปวดข้อเข่าเกิดจากอะไร
อาการปวดเข่าเป็นอย่างไร ใครมีความเสี่ยงจะเกิดหัวเข่าเสื่อมได้บ้าง วิธีแก้ไขรวมทั้งวิธีป้องกันต้องทำอย่างไร ในบทความนี้มีคำตอบ
อาการปวดข้อเข่าเกิดจากอะไร
อาการปวดหัวเข่าอาจมีสาเหตุหลายประการ มักขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น อายุ การทำกิจกรรม และโรคบางชนิด สาเหตุหลักของอาการปวดข้อเข่า มีดังนี้
1. โรคข้อเข่าเสื่อม
โรคข้อเข่าเสื่อมเป็นสาเหตุพบบ่อยที่สุดของอาการปวดเข่า โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ โรคข้อเข่าเสื่อมเกิดจากการเสื่อมของกระดูกอ่อนในข้อเข่าสึกหรอเมื่อเวลาผ่านไป ทำให้เกิดอาการปวดเข่า ตึง บวมที่ข้อเข่าอาการเป็นได้ตั้งแต่ระดับเบา ๆ มีอาการปวด อักเสบ ไปจนถึงระดับทำให้หัวเข่าผิดรูป เดินลงน้ำหนักไม่ได้ ควรรีบปรึกษาแพทย์ เพื่อหาวิธีรักษาต่อไป
2. การใช้งานหัวเข่ามากเกินไป
การใช้เข่าหนักเกินไปเป็นสาเหตุทำให้เกิดการปวดเข่าได้มากในช่วงวัยรุ่น วัยทำงาน เพราะการใช้เข่าหนักเกินไป เช่น การเดิน การยืนตลอดทั้งวัน การวิ่ง การกระโดด การนั่งยอง ๆ อาจทำให้เกิดอาการปวดกล้ามเนื้อขาร่วมด้วย เมื่อเกิดอาการในบางรายจะหายเองได้ภายใน 2-3 วัน แต่ในบางรายอาจหายช้า การปวดเป็นเวลานานจะกลายเป็นปวดเข่าเรื้อรังได้ในที่สุด
3. การบาดเจ็บหรือการเกิดอุบัติเหตุที่เข่า
อาการเจ็บปวดเข่า หรือเกิดจากอุบัติเหตุ เช่น วิ่งหกล้มเข่ากระแทก เอ็นฉีกขาด กระโดดแล้วเข่าบิด เอ็นสะบ้าอักเสบ การออกกำลังกายผิดวิธี อาจทำให้เกิดอาการปวดเข่าเฉียบพลัน และรุนแรงได้ หรือจากอุบัติเหตุมีการผิดรูปของข้อเข่า อาจทำให้เกิดอันตรายร้ายแรง ควรรีบนำส่งโรงพยาบาล
4. โรคอ้วน น้ำหนักตัวมาก
คนเป็นโรคอ้วนน้ำหนักตัวมาก เข่าจะรับน้ำหนักร่างกายที่หนักไว้ตลอดเวลา ดังนั้นเข่าจะต้องทำงานหนักทำให้เกิดอาการปวดเข่า เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดอาการปวดเข่าเรื้อรังและโรคข้อเข่าเสื่อมในอนาคต
5. โรคเกาต์
โรคเกาต์เป็นโรคข้ออักเสบชนิดหนึ่ง อาจทำให้เกิดอาการปวดเข่าอย่างฉับพลันและรุนแรงเนื่องจากการสะสมของผลึกกรดยูริกในข้อต่อ
สรุปหากมีอาการปวดเข่าอย่างต่อเนื่อง รุนแรงขึ้น ควรพบแพทย์เพื่อการทำวินิจฉัยหาสาเหตุที่แท้จริงในการปวดข้อเข่า และวางแผนรักษาได้เหมาะสมต่อไป
อาการปวดเข่า
อาการปวดเข่าในระยะแรกอาจเป็นอาการปวดเป็น ๆ หาย ๆ และปวดมากขึ้น เมื่อมีการใช้งานข้อเข่า เช่น การยืนนาน ๆ การนั่งคุกเข่า นั่งขัดสมาธิ เดินขึ้นลงบันไดบ่อย เมื่อมีอาการนานเข้าจะเกิดข้อเข่าฝืดขัด อาการปวดจะเพิ่มมากขึ้นและรุนแรง ผู้ที่เป็นมาก ๆ อาจมีอาการข้อติดขัดเวลาเดิน ข้อจะบวมแดงอาจมีอาการโรคข้อเข่าเสื่อมร่วมด้วย
คนมีความเสี่ยงที่อาจเกิดอาการปวดเข่า
หลาย ๆ คนอาจมีความเสี่ยงเกิดอาการปวดเข่าได้ในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต หลายปัจจัยที่เป็นสาเหตุในการเพิ่มความเสี่ยงต่ออาการปวดเข่า ได้แก่:
- อายุ เมื่อผู้คนอายุมากขึ้น ความเสี่ยงในการเกิดอาการปวดเข่า จากสภาวะต่าง ๆ เช่น โรคเข่าเสื่อมจะเพิ่มขึ้น การสึกหรอของข้อเข่าอาจทำให้เกิดอาการปวดได้
- การมีน้ำหนักมากเกินไป เป็นโรคอ้วน อาจทำให้เกิดอาการปวดเข่าเพิ่มขึ้นได้
- การออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมบางอย่างที่ต้องเคลื่อนไหวเข่าซ้ำ ๆ เช่น วิ่ง กระโดด หรือนั่งยอง ๆ สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการปวดหัวเข่า เนื่องจากการใช้งานมากเกินไป
- ผู้เคยได้รับบาดเจ็บบริเวณเข่ามาก่อน เช่น เอ็นฉีกขาดหรือกระดูกหัก มีความเสี่ยงสูงจะประสบกับอาการปวดเข่าเรื้อรัง มีภาวะแทรกซ้อน
- การสวมรองเท้าที่ไม่เหมาะสม อาจทำให้เกิดอาการปวดเข่าได้ เนื่องจากอาจส่งผลต่อการจัดตำแหน่งและกลไกของเข่า
- พันธุกรรม บางคนอาจมีพันธุกรรมเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม ความผิดปกติของโครงสร้างข้อเข่า ทำให้เสี่ยงต่อเกิดอาการปวดเข่ามากขึ้น
- อาชีพต้องเคลื่อนไหวเข่าซ้ำ ๆ ยืนเป็นเวลานาน อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอาการปวดเข่าเมื่อเวลาผ่านไปนาน ๆ
- ท่าทาง สรีระของร่างกาย ท่าทางไม่ดีและสรีระของร่างกายไม่เหมาะสมในระหว่างทำกิจกรรม เช่น การยกของหนัก อาจทำให้เข่าต้องรับนำ้หนักมากขึ้น ทำให้เกิดอาการปวดได้
- โรคบางชนิด เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคลูปัส โรคเกาต์ อาจเพิ่มโอกาสเกิดอาการปวดหัวเข่าได้
แม้ว่าปัจจัยเหล่านี้อาจเพิ่มความเสี่ยงต่ออาการปวดเข่าได้ แต่ไม่ใช่ทุกคนมีปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ จะเกิดปัญหาหัวเข่าเสมอไป การมีวิธีป้องกันที่ถูกต้องสามารถช่วยลดความเสี่ยงของอาการปวดเข่า รวมทั้งปัญหาที่เกี่ยวข้องได้ หากเกิดอาการปวดเข่าควรไปพบแพทย์ เพื่อการรักษาอย่างเหมาะสมบรรเทาอาการปวดได้
อาการปวดเข่าที่ควรไปพบแพทย์
เมื่อมีอาการปวดเข่าในหลาย ๆ สถานการณ์ บ่งบอกถึงปัญหาที่เกิดขึ้นกับหัวเข่า ในหัวข้อนี้จะให้ความรู้เกี่ยวกับอาการปวดเข่า ต้องไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษา มีต่อไปนี้
- อาการปวดเข่าอย่างรุนแรง ฉับพลัน อาจเป็นสัญญาณของการบาดเจ็บที่สำคัญ เช่น การแตกหัก การเคลื่อนตัว เอ็นฉีกขาด กรณีนี้ควรไปพบแพทย์ทันที
- อาการปวดเรื้อรัง หากมีอาการปวดเข่าอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ทำให้รบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน อาการปวดเข่าเรื้อรังอาจเป็นสัญญาณของภาวะต่าง ๆ เช่น โรคข้อเข่าเสื่อม เอ็นอักเสบ
- อาการเข่าบวมแดงหรือร้อน ในตำแหน่งข้อเข่า เป็นสัญญาณบ่งบอกถึงการอักเสบของเข่า อาจทำให้ติดเชิ้อได้
- เกิดปัญหาในการเหยียดงอของข้อ มีอาการเหยียดไม่สุด เส้นตึงงอไม่ได้ งอเข่าแล้วเจ็บ งอเข่าแล้วยืนไม่ได้ การยืนแล้วลงน้ำหนักไม่ได้หรือได้ไม่เต็มที่
- อาการชา รู้สึกเสียวซ่า หากมีอาการชาหรือรู้สึกเสียวซ่าบริเวณหัวเข่า ขาส่วนล่าง อาจบ่งบอกถึงเกิดปัญหาของเส้นประสาท ควรได้รับการประเมินจากแพทย์
- อาการปวดเข่าร่วมกับมีไข้ หนาวสั่น มีอาการติดเชื้อ เช่น มีรอยแดง รู้สึกอุ่น มีหนองไหลออกจากข้อเข่า ควรไปพบแพทย์ทันที อาจเป็นการติดเชื้อร้ายแรง
- น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ หากมีอาการปวดเข่า รวมกับน้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ อาจเกี่ยวข้องกับสภาวะทางระบบ เช่น โรคภูมิต้านตนเอง โรคมะเร็งบางชนิด
- อาการปวดหลังการบาดเจ็บ หากได้รับบาดเจ็บบริเวณเข่า จากการล้ม การจากเล่นกีฬา หรือการบาดเจ็บอื่น ๆ และรู้สึกเจ็บปวด บวม หรือทรงตัวไม่ได้ อาจได้รับบาดเจ็บ เช่น เอ็นไขว้หน้า (ACL) เข่าอักเสบ หรือกระดูกหัก ควรได้รับการดูแลจากแพทย์
สิ่งสำคัญอย่าเพิกเฉยต่ออาการปวดเข่าอย่างต่อเนื่องหรือรุนแรง ควรได้รับการวินิจฉัยและรักษาแต่เนิ่นๆ เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน ปรับคุณภาพชีวิตโดยรวมได้ ถ้าเกิดอาการต่าง ๆ ดังกล่าวมาควรพบแพทย์เพื่อทำการรักษาด้วยวิธีเหมาะสมต่อไป
วิธีแก้ปวดเข่าเบื้องต้น
เมื่อมีอาการปวดเข่า การบรรเทาอาการปวดเข่าในเบื้องต้น สามารถดูแลตนเองได้ โดยปฏิบัติดังนี้
1. ทานยาแก้ปวด บรรเทาปวด
วิธีแก้ปวดเข่านิยมใช้คือการรับประทานยาแก้ปวด เช่น ยาพาราเซตามอล ไอบูโพรเฟน อะเซตามิโนเฟนสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดเข่าได้ ปฏิบัติตามคำแนะนำในการใช้ยาอย่างถูกต้อง
2. ประคบเย็น
การประคบเย็น เหมาะกับผู้มีการอาการปวดเข่า เข่าอักเสบระยะเริ่มต้น ทำให้เส้นเลือดหดตัว ลดอาการบวมแดง ใช้ผ้าขนหนูห่อน้ำแข็งเพื่อไม่ให้เย็นจนเกินไป หรืออาจใช้เจลเย็น ช่วยบรรเทาอาการปวดเข่าได้ประคบรอบ ๆ บริเวณปวดประมาณ 15-20 นาที ทุก 1-2 ชั่วโมง
3. ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน
ปรับพฤติกรรมและกิจกรรมในชีวิตประจำวันที่ต้องใช้ข้อเข่ามาก เช่น หลีกเลี่ยงการยกของหนัก, ไม่นั่งยืนท่าเดิมเป็นเวลานาน, ไม่นั่งไขว่ห้างนาน เพราะทำให้เข่าถูกล็อคให้ผิดรูปร่างได้ พักการใช้งานข้อเข่าเป็นระยะเพื่อไม่ให้ข้อเข่าทำงานหนักจนเกินไป เพื่อป้องกันอาการปวดเข่าเรื้อรังได้
4. การควบคุมน้ำหนัก
การควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม เป็นวิธีแก้ปวดเข่าเบื้องต้น การลดน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์จะช่วยให้ข้อเข่าไม่ต้องรับน้ำหนักมากเกินไป ลดแรงกระเทือนต่อข้อเข่า ช่วยลดอาการปวดหัวเข่า น้ำหนักตัวมากเกินไปอาจทำให้อาการปวดเข่ารุนแรงขึ้น รวมถึงทำให้เกิดโรคข้อเข่าเสื่อมได้
5. บริหารกล้ามเนื้อหัวเข่าอย่างสม่ำเสมอ
การบริการกล้ามเนื้อหัวเข่าอย่างสม่ำเสมอ เป็นวิธีการลดอาการปวดเข่า ทำเป็นประจำสม่ำเสมอ เพียงแค่ออกกำลังกายที่มีแรงกระแทกต่อเข่าน้อย เช่น การเดินเร็ว, การว่ายน้ำ, โยคะ, การเต้นแอโรบิก เพื่อช่วยบรรเทาอาการปวดข้อเข่า เพิ่มความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อรอบข้อเข่ามากยิ่งขึ้น
วิธีป้องกันไม่ให้เกิดอาการปวดเข่า
เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการปวดเข่า ลดความเสี่ยงให้น้อยลงที่สุด วิธีป้องกันอาการเจ็บข้อเข่า สามารถป้องกันได้ ด้วยวิธีการต่อไปนี้
- ควบคุมน้ำหนักตัว เพื่อช่วยลดแรงกดบริเวณเข่า ลดวามเสี่ยงให้เกิดอาการปวดเข่าได้มาก
- ออกกำลังกายเสริมสร้างกล้ามเนื้อรอบเข่า เสริมความยืดหยุ่นของข้อเข่า ช่วยป้องกันอาการปวดเข่า แต่ควรเลือกกิจกรรมเท่าที่ทำได้ไม่กระทบต่อข้อเข่ามากนัก
- การออกแรงเกิดมีความเสี่ยงต่อเข่า หากทำงานโดยต้องยกของหนักหรือออกแรงที่มีความเสี่ยงต่อข้อเข่า ควรใช้อุปกรณ์ป้องกันและท่าทางที่ถูกต้อง
- หลีกเลี่ยงท่าทางที่ต้องงอเข่ามากกว่า 90 องศา เช่น การนั่งคุกเข่า การนั่งขัดสมาธิ การนั่งพับเพียบ เพราะการงอเข่ามาก ๆ จะทำให้เพิ่มแรงกระทำต่อกระดูกอ่อนบริเวณผิวข้อ ทำให้มีอาการปวดเข่าเพิ่มมากขึ้น
การป้องกันอาการปวดเข่าเป็นสิ่งสำคัญเพื่อรักษาความสุข ความสามารถในการเคลื่อนไหวของข้อเข่าในระยะยาว หากมีอาการปวดเข่ารุนแรง ควรรีบปรึกษาแพทย์
สรุปอาการปวดเข่า
อาการปวดเข่าเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย เป็นอาการบาดเจ็บบริเวณเข่า เกิดขึ้นได้หลายสาเหตุจากอุบัติเหตุหรือกิจกรรมต่าง ๆ ปวดเข่าเป็นอาการที่สร้างความเจ็บปวด รบกวนในการใช้ชีวิตประจำวัน ดังนั้นเมื่อเกิดอาการปวดข้อเข่า เข่าบวมอักเสบ เราสามารถรักษาเบื้องต้นโดยการทานยาแก้ปวด แต่ถ้าอาการปวดรุนแรงขึ้น ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยเข้ารับการรักษาได้อย่างถูกวิธีต่อไป