รู้จักสาเหตุโรคแพนิคและวิธีรักษาแพนิคด้วยเทคนิค CBT
อาการแพนิคเป็นอาการหนึ่งที่พบได้บ่อยในปัจจุบันสามารถเกิดขึ้นได้ทุกช่วงวัยทั้งวันเรียน วัยทำงาน แต่คนส่วนใหญ่จะแยกโรคแพนิค กับอาการวิตกกังวลปกติไม่ค่อยออก ถ้าเรามาสังเกตโรคแพนิคให้ดีหาสาเหตุและวิธีแก้อาการแพนิคจะป้องกันการเกิดโรคไม่ให้ร้ายแรงมากกว่าเดิมจนไปถึงขั้นเสี่ยงเป็นซึมเศร้าไม่สามารถกลับไปใช้ชีวิตตามปกติได้ ไปทำความรู้จักโรคแพนิคให้มากกว่าเดิม พร้อมหาคำตอบว่าโรคแพนิครักษาหายไหมกันเลย
ทำความรู้จักโรคแพนิค
โรคแพนิค คือ Panic Disorder หรือโรคตื่นตระหนก เป็นการวิตกกังวล ตื่นตระหนก กลัวมากกว่าปกติเกิดจากระบบประสาททำงานผิดปกติ ซึ่งระบบประสาทส่วนนี้ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของร่างกายหลายอย่าง คนที่เป็นโรคแพนิคจึงแสดงออกทางสีหน้าและทางร่างกาย เช่น หัวใจเต้นเร็ว, เหงื่อออก, ปวดท้อง, ปวดหัวแบบฉับพลัน
ผู้ป่วยจะรู้สึกกลัว ตื่นตกใจมากกว่าปกติแม้แต่เรื่องเล็กน้อยก็สามารถทำให้เกิดอาการเหล่านี้ได้ เหมือนเผชิญหน้ากับเหตุการณ์ไม่คาดคิด ซึ่งจะทำให้เกิดผลข้างเคียงกระทบต่อชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก ไม่กล้าออกจากบ้าน มีปัญหาด้านสุขภาพจนไปถึงขั้นซึมเศร้า อาการโรคแพนิคจะเกิดขึ้น 3 – 10 นาที เกิดขึ้นเป็นช่วง ๆ ถี่มากขึ้นถ้ายังไม่รีบรักษาอย่างถูกวิธี
อาการโรคแพนิคแบบไหนอันตราย
อาการแพนิคสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ ทุกเวลา ทำให้คาดเดาไม่ได้ ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะกลัวว่าควบคุมตนเองไม่ได้จึงรีบไปโรงพยาบาล เพื่อพบแพทย์ให้ทำการวินิจฉัยพร้อมทำการรักษาเบื้องต้น แต่โรคแพนิคไม่ได้เกิดจากความกลัวเพียงอย่างเดียวมักเกิดขึ้นจากอารมณ์และความรู้สึกของผู้ป่วยด้วย โดยอาการโรคแพนิคมีหลายอาการ ได้แก่
- หัวใจเต้นรัว แรง เร็วกว่าปกติ
- แน่นหน้าอก หายใจไม่ค่อยสะดวก
- หายใจถี่ หอบ หายใจไม่ทัน
- เหงื่อแตกตามหน้าผาก, ไรผม, มือและเท้ามากกว่าปกติ
- ตัวสั่นคล้ายกับคนกลัวอะไรบางอย่าง
- ท้องไส้ปั่นป่วนรู้สึกไม่ดี อยากอาเจียน
- เวียนหัว ตาพร่ามัว จะเป็นลม
- รู้สึกกลัวทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัว
- มือสั่น เท้าสั่น ชาตามนิ้วมือ นิ้วเท้า
- การรับรู้บิดเบือนเหมือนตกอยู่ในความฝัน
- ควบคุมตัวเองไม่ได้ ตัวร้อน อ่อนเพลีย
- ส่งเสียงกรีดร้องหรือร้องไห้
การรักษาโรคแพนิคพร้อมวิธีป้องกัน
โรคแพนิครักษาหายไหมสามารถรักษาให้หายได้ โดยเทคโนโลยีทางการแพทย์ในปัจจุบันมีวิธีแก้อาการแพนิคด้วยยาและเทคนิคต่าง ๆ คือ รักษาโรคแพนิคด้วยจิตบำบัด, รักษาโรคแพนิคด้วยยา ซึ่งทั้งสองวิธีต้องได้รับการดูแลจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและควรปฏิบัติตามคำแนะนำเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยรักษาควบคุมอาการให้ดีขึ้น ไม่ควรหยุดยาเองแบบไม่ถามแพทย์เพราะอาการจะกำเริบหรือกลับมาเป็นอีกรอบได้
การฝึกผ่อนคลาย ทำสมาธิ นับจังหวะหายใจก็เป็นอีกหนึ่งวิธีการดูแลโรคแพนิคที่สามารถทำเองได้และป้องกันอาการแพนิคไม่ให้เกิดขึ้นได้ง่าย ๆ เมื่อจิตใจเผชิญหน้ากับสถานการณ์คับขันร่างกายจะสามารถปรับตัวให้ดีขึ้นจนหายไปเองตามธรรมชาติ โรคแพนิคจึงไม่ได้เป็นอันตรายหรือโรคร้ายแรงตามที่ได้ยินมาจากสื่อโซเชียลขนาดนั้น แต่อาการแพนิคจะทำให้เกิดความรู้สึกกังวลกับจิตใจมากกว่า ถ้าต้องรักษาเมื่อรู้สึกว่ามีอาการรุนแรงจนถึงขั้นกระทบการใช้ชีวิตประจำวันมีวิธีรักษา ดังนี้
รักษาโรคแพนิคด้วยจิตบำบัด
รักษาโรคแพนิคด้วยจิตบำบัด (Cognitive behavioral therapy – CBT) คือ การทำให้จิตใจสงบนิ่งปรับความคิด มุมมอง ทัศนคติและพฤติกรรมการใช้ชีวิตช่วยให้ผู้ป่วยรู้จักควบคุมอาการโรคแพนิคที่เกิดขึ้นฝึกการตอบสนองต่ออารมณ์หวาดกลัว จัดการกับอาการตื่นตระหนกอย่างเหมาะสม สามารถทำได้หลายวิธี เช่น
- การฝึกกำหนดลมหายใจเข้า – ออกช้า ๆ เพื่อไม่ให้สนใจอาการแพนิค การหายใจเข้าแล้วโฟกัสไปที่ท้องป่องและเมื่อหายใจออกให้ปล่อยลมจนหมดสังเกตท้องให้ยุบลงคอยทำไปเรื่อย ๆ จนกว่าร่างกายจะสามารถปรับตัวให้ดีขึ้นและหายไปได้เอง
- รู้จักการจัดการอารมณ์ของตนเอง คอยตั้งสติไว้เสมอ เตือนตนเองว่าอาการโรคแพนิคเกิดขึ้นเพียงแค่ชั่วคราว
- ฝึกคลายกล้ามเนื้อเมื่อรู้สึกปวดศีรษะหรือปวดตึงกล้ามเนื้อ
- ฝึกคิดบวกเข้าไว้
- โรคแพนิคควรฝึกการหายใจ (Breathing Exercise) อย่างสม่ำเสมอวันละ 10 – 15 นาที
รักษาโรคแพนิคด้วยยา
ยารักษาโรคแพนิคแพทย์มักจะพิจารณาจ่ายยากลุ่มที่ออกฤทธิ์เร็วและออกฤทธิ์ช้าให้ใช้ร่วมกันในระยะแรก เมื่อเริ่มเห็นผลลัพธ์การรักษาก็จะพิจารณาปรับลดขนาดยาลง โรคแพนิคใช้เวลาในการรักษา 8 – 12 เดือนเนื่องจากได้รับการเปลี่ยนแปลงของระบบประสาทในสมองจึงค่อนข้างใช้เวลาในการรักษานานพอสมควรและขึ้นอยู่กับปัจจัยกระตุ้นการเกิดโรคของแต่ละคนด้วยแต่สามารถหายขาดได้ โดยยารักษามี 2 กลุ่มได้แก่
- ยารักษาแพนิคกลุ่มออกฤทธิ์เร็ว ตัวยาสามารถควบคุมอาการของโรคได้ซึ่งเป็นยากลุ่มคลายเครียดหรือยานอนหลับ แต่ไม่ควรใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานานเพราะจะทำให้ดื้อยาและติดยาได้
- ยารักษาแพนิคกลุ่มออกฤทธิ์ช้า ตัวยาจะไปปรับสมดุลประสาทในสมอง ผู้ป่วยจึงต้องกินยาติดต่อกันในระยะเวลาหนึ่งถึงเห็นผล ยากลุ่มนี้ไม่ทำให้เกิดการดื้อยาหรือติดยาเหมือนกลุ่มแรกจึงปลอดภัยกว่าในระยะยาว
วิธีการดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยโรคแพนิค
ก่อนจะรู้จักวิธีดูแลตนเองต้องไปทำความรู้จักสาเหตุของการเกิดโรคแพนิคก่อนเพื่อจะได้ป้องกันอาการ ไม่เสี่ยงต่อการเป็นโรคแพนิคหรือโรคตื่นตระหนก ซึ่งสาเหตุของการเกิดโรคเชื่อว่ามีหลายปัจจัยประกอบกัน เช่น การทำงานของสมองเกิดความผิดปกติทางสารสื่อนำบางอย่าง, ทางกรรมพันธุ์, เกิดจากความเครียดในชีวิตประจำวันและยาบางประเภท
ถ้ารู้อย่างนี้แล้ววิธีการดูแลตนเองที่ทำได้สำหรับผู้ป่วยโรคแพนิคจึงควรเน้นไปที่การคลายเครียดเป็นส่วนใหญ่ โดยมีวิธีปรับพฤติกรรมให้เหมาะสมเพื่อการดูแลตนเองดังนี้
- รู้จักการพักผ่อน สร้างสุขลักษณะในการนอนที่ดี
- ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ ไม่สูบบุหรี่ งดการใช้สารเสพติดและกลุ่มยากระตุ้นให้เกิดอาการใจสั่น
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ฝึกกำหนดลมหายใจให้เหมาะสม
- ลดเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น เครื่องดื่มชูกำลัง น้ำอัดลม ชา กาแฟเป็นต้น
- ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญหรือจิตแพทย์เพื่อระบายถึงปัญหาต่าง ๆ หาทางออกที่ดีในด้านสุขภาพจิตเป็นอีกวิธีในการรักษาโรคแพนิค
แต่ถ้าหากไม่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคแพนิคเพื่อเข้ารับการรักษาอย่างถูกต้อง อาจส่งผลต่อชีวิตประจำวันได้ โดยเฉพาะอาการแพนิคในเด็กจะทำให้พัฒนาการการเรียน การเข้าสังคมผิดปกติส่งผลกระทบสู่อนาคตได้ ส่วนวัยทำงานอาจต้องหยุดงานบ่อย ๆ มีอาการซึมเศร้าตามมาไม่อยากออกจากบ้านหรือทำสิ่งต่าง ๆ เสี่ยงต่อการใช้สารเสพติดอย่างยานอนหลับ ติดสุราของมึนเมาจนไปถึงขั้นทำร้ายตัวเองและฆ่าตัวตายได้
โรคแพนิครักษาที่ไหนดี
โรคแพนิคถึงแม้ว่าไม่ค่อยเป็นอันตรายต่อการใช้ชีวิต แต่ถ้าหากเป็นหนักมากควรรีบเข้ารับการรักษาจากอายุรแพทย์เพื่อค้นหาอาการที่แท้จริงว่าเกิดขึ้นจากอะไร เพราะอาการใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว หายใจไม่ค่อยสะดวกอาจไม่ใช่โรคแพนิคแต่เป็นโรคหัวใจ, โรคไทรอยด์, โรคปอดเป็นต้น เมื่อมั่นใจแล้วว่าไม่ได้เกิดจากโรคทางกาย ควรมองหาวิธีรักษาโรคแพนิคจากการปรึกษาจิตแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสุขภาพจิต นักจิตบำบัดและโรงพยาบาลเฉพาะทางเพื่อเข้ารับการรักษาอย่างเหมาะสม
สรุปโรคแพนิคไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด
โรคแพนิคในยุคปัจจุบันเราอาจเข้าใจผิดหรือได้ยินกันมาอย่างผิด ๆ ว่าจะทำให้เกิดอาการซึมเศร้าตามมา ทำให้ไม่กล้าออกไปไหน กลัวการเผชิญหน้ากับความจริง มีอาการรุนแรงจนไปถึงขั้นฆ่าตัวตายได้ แต่แท้จริงแล้วโรคแพนิคไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด ถ้ารู้จักวิธีรักษาแพนิคด้วยตัวเองในเบื้องต้นผ่อนคลายความเครียด คอยคิดบวกอยู่เสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ
เมื่อต้องเผชิญกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ต้องเตือนตัวเองว่าอาการใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว วิตกกังวลสามารถหายเองได้ เป็นอาการแพนิคที่เกิดขึ้นเพียงชั่วคราวเท่านั้นและควรรีบพบแพทย์เพื่อปรึกษาหาวิธีแก้อาการแพนิครวมไปถึงเข้ารับการรักษาด้วยยา รักษาด้วยจิตบำบัดโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจนกลับไปใช้ชีวิตอย่างเดิมได้ตามปกติ