ทานยาแก้ปวดหัวอย่างไรให้ถูกวิธี

ทานยาแก้ปวดหัวอย่างไรให้ถูกวิธี ทั้งรักษาอาการได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

อาการปวดศีรษะ เป็นปัญหาความผิดปกติของระบบการทำงานของประสาท ซึ่งผู้มีอาการปวดหัวที่หลายท่านพบเจอมักจะหายาแก้ปวดหัวมารับประทานเอง บางท่านมักจะกินยาแก้ปวดหัวเมื่อท่านมีอาการให้บรรเทาลงเพียงเท่านั้น แต่บางท่านอาจจะรับประทานยาแก้ปวดหัวติดต่อกันเป็นเวลานาน จนอาจจะส่งผลให้ทานยาเกินขนาด หรืออาจจะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะเพิ่มมากขึ้นได้เช่นเดียวกัน พร้อมทั้งยังส่งผลเสียต่อสุขภาพต่อตับ/ไตได้อีกด้วย


ยาแก้ปวดหัว มีกี่แบบ

เรามาทำความรู้จักกับยารักษาอาการปวดหัว ซึ่งบางท่านอาจจะรู้จักยาแก้ปวดตามท้องตลาด เพื่อแก้อาการปวดเพียงอย่างเดียว ด้วยการใช้ลดอาการปวดรวมถึงความรุนแรงของอาการปวดในชั่วขณะหนึ่ง ซึ่งในความเป็นจริงแล้วยาแก้ปวดหัว สามารถแยกการใช้งานได้ตามลักษณะอาการของความปวดได้ดังต่อไปนี้ 

ยาแก้ปวดหัวชนิดที่ 1 คือ ยาแก้ปวดชนิดที่ใช้รับประทาน

เป็นการใช้ยาแก้ปวดหัวที่ช่วยระงับอาการปวดหัวแบบรับประทาน ซึ่งเป็นยาแก้ปวดหัวในระดับที่ปวดเล็กน้อยจนไปถึงระดับปานกลางเพียงเท่านั้น โดยแบ่งออกเป็น 5 ประเภทได้แก่ 

  1. ยาแก้ปวดหัวระงับอาการปวดหัวแบบชนิดช่วยระงับทันที ทั้งอาการปวดหัว หรือปวดหัวไมเกรน ซึ่งเป็นสูตรยาที่ผสมของสารสื่อประสาทชนิด  Ergotamine ที่ช่วยในการหดตัวของเลือก กับ Caffeine ที่มีฤทธิ์ช่วยให้ระบบประสาทเกิดการตื่นตัว โดยท่านสามารถทานได้ตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น เนื่องจากเป็นยาแก้ปวดหัวประเภทที่ต้องอยู่ในการควบคุมของแพทย์ผู้ให้การรักษา ห้ามใช้ยาแก้ปวดหัวนี้กับสตรีมีครรภ์ ผู้เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด รวมทั้งผู้ที่มีปัญหานอนไม่หลับเป็นต้น 
  1. ยาแก้ปวดหัวที่มีส่วนประกอบเกี่ยวกับสารที่สกัดมาจากฝิ่น โดยจะช่วยแก้ปวดหัวในระดับกลางถึงมากที่สุด ซึ่งเป็นยาที่ต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์ที่ทำการรักษาอย่างเคร่งครัด หากใช้ในปริมาณมากเกินไปอาจจะส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาว ผู้ที่มีอาการโรคระบบทางเดินหายใจ มีประวัติผมชัก ระบบการทำงานของตับ/ไตผิดปกติ จะพบกับผลกระทบเมื่อใช้ยาแก้ปวดหัวจำพวกนี้คือ คลื่นไส้อาเจียน ท้องผูก ง่วงซึม มึนศีรษะ หายใจติดขัด เป็นต้น 
  1. ยาแก้อักเสบที่ช่วยลดอาการปวดหัวระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง ได้แก่ ยาแก้อักเสบนาพรอกเซน (Naproxen) , ยาต้านอักเสบไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) และยาแก้ปวดลดไข้เมเฟนามิค แอซิด (Mefenamic acid) เป็นต้น ซึ่งยาแก้ปวดหัวกลุ่มดังกล่าวไม่ใช่สารสเตียรอยด์ (NSAIDs) รวมทั้งผู้ที่มีโรคหัวใจและหลอดเลือด , ระบบการทำงานของไตผิดปกติ รวมทั้งผู้ที่มีประวัติมีแผล / มีเลือดออกในบริเวณทางเดินอาหาร ควรระมัดระวังการใช้ยาแก้ปวดหัวประเภทนี้
  1. ยาพาราเซตามอล (Paracetamol ในบางที่จะเรียกว่า อะเซตามิโนเฟน (acetaminophen) ได้อีกด้วย) เป็นยาที่เหมาะสมกับการแก้ปวดหัวด้วยอาการปวดเพียงเล็กน้อย จึงไม่ควรทานยาแก้ปวดหัวประเภทนี้มากกว่า 3 กรัมต่อวัน หรือจำนวน 6 เม็ดต่อวัน (ยา 1 เม็ดมีค่าเทียบเท่า 500 มิลลิกรัม) และไม่ควรรับประทานยาแก้ปวดหัวชนิดนี้ติดต่อกันเกินกว่า 5- 7 วัน เนื่องจากยาแก้ปวดหัวชนิดนี้มีผลต่อปัญหาการทำงานของตับนั้นเอง
  1. ยาแก้ปวดหัวในกลุ่มยาจำพวกทริปแทน (Triptan) เป็นยาระงับอาการปวดหัว ปวดไมเกรน ผู้ที่มีประวัติโรคหัวใจและหลอดเลือด ความดันโลหิตสูง ระบบการทำงานของตัวผิดปกติควรระมัดระวังอย่างเคร่งครัดในการใช้ยาแก้ปวดหัวประเภทนี้

ยาแก้ปวดหัวชนิดที่ 2  คือ ยาแก้ปวดชนิดที่ใช้การฉีดยาเข้าสู่ร่างกาย

  • ประเภทที่ 1 : เป็นยาแก้ปวดหัวที่ใช้ฉีดจากแพทย์ผู้ดูแลรักษา เพื่อระงับอาการปวดหัวชนิดรุนแรง ซึ่งก่อนได้รับยาชนิดนี้ฉีดเข้าสู่ร่างกายควรแจ้งประวัติการแพ้ยา-โรคประจำตัวให้แก่แพทย์ที่เข้ารับการรักษา ยาประเภทนี้จะประกอบด้วยยาฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำ 3 ชนิด ดังเช่น ยากันชัก, ยาฉีดสเตียรอยด์  และยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs)
  • ประเภทที่ 2 : เป็นการใช้ยาแก้ปวดหัวเฉพาะที่จากแพทย์ที่ดูแลเช่นเดียวกับชนิดแรก  เพื่อให้เกิดการยับยั้งอาการปวดด้วยการฉีดยาสเตียรอยด์แบบไม่ละลายน้ำหรือที่เรียกว่ายาน้ำแขวนตะกอน ข้อควรระวังก่อนได้รับยาประเภทนี้ฉีดเข้าสู่ร่างกาย ควรแจ้งประวัติการแพ้ยา โรคประจำตัวด้วยเหมือนกับชนิดแรก ซึ่งมักจะพบเจอผลลัพธ์ที่ไม่พึงประสงค์หลังจากฉีดยาเข้าสู่ร่างกาย ได้แก่ อาการปวดแสบบริเวณที่ฉีดเข้าสู่ร่างกาย คลื่นไส้ อาเจียน บางรายอาจจะเกิดการติดเชื้อได้อีกด้วย 

ข้อควรระวังในการทานยาแก้ปวดหัว 

“ยาแก้ปวดหัว หรือยาแก้ปวด” ล้วนแล้วเป็นยาประจำตัว ซึ่งเป็นทั้งคู่กายติดตัวไว้ใช้ในยามีอาการปวดศีรษะ บางท่านเลือกใช้ยาแก้ปวดหัวในการแก้ปัญหา ด้วยการกินให้บรรเทาอาการโดยไม่รู้ข้อจำกัด แล้วเราจะมีวิธีการรับประทานยาได้อย่างถูกต้องอย่างไร เพื่อไม่ให้ส่งผลเสียต่อสุขภาพของผู้ทานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เรามาไขคำตอบกันเถอะ!

1.  เราควรทานยาแก้ปวดหัวอย่างไรให้ถูกวิธี

ยาแก้ปวดหัว สามารถทานได้อย่างไร โดยไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพการทำงานของตับ ข้อควรระวังที่ท่านไม่ควรทานยาเกิน 4,000 มิลลิกรัมต่อวัน โดยแบ่งตามขนาดของยาได้ดังนี้ 

  • ยาแก้ปวด : ชนิดขนาดไม่เกิน 500 มิลลิกรัม ควรทานโดยเว้นระยะห่างจากยาที่ทานครั้งแรกประมาณ 4 – 6 ชั่วโมง 
  • ยาแก้ปวด : ชนิด 1,000 มิลลิกรัม ควรทานโดยเว้นระยะห่างจากยาที่ทานครั้งแรก ประมาณ 6 – 8 ชั่วโมง 
  • ท่านไม่ควรรับประทานยาติดต่อกันนานเกิน 5 – 7 วัน

จากข้อมูลข้างต้นนี้เองที่ทำให้การรับประทานยาแก้ปวดหัว จะส่งผลกระทบข้างเคียงต่อสุขภาพ เมื่อทานยาติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ซึ่งมีอาการ เช่น เกิดภาวะตับอักเสบ ระบบการทำงานของไตมีประสิทธิภาพลดลง ส่งผลให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร เกิดความเครียดเรื้อรัง นอนไม่หลับบางรายเกิดภาวะโรคซึมเศร้าได้อีกด้วย 

2. อาการที่บ่งบอกถึงการทานยาแก้ปวดหัวเกินขนาด

หากท่านมีอาการคลื่นไส้อาเจียน ปวดท้องไม่ทราบสาเหตุ เหงื่อออก พร้อมทั้งมีอาการที่เริ่มรุนแรงขึ้น เช่นมีการปวดกระเพาะบริเวณส่วนบน การปัสสาวะเริ่มมีสีเข้มขึ้นเรื่อยๆ ผิวเหลือง/ตาเหลือง อาการเล่านี้เป็นอาการเตือนถึงการที่ท่านรับประทานยาเกินขนาด เนื่องจากยาแก้ปวดหัวหากเมื่อท่านรับประทานเข้าไปแล้วจะถูกขับออกด้วยการทำงานของตับ ดังนั้นหากรับประทานยาเหล่านี้ไปนานๆจะส่งผลเสียต่อการทำงานของตับหรือการทำงานของไตได้นั้นเอง 


สรุปยาแก้ปวดหัว

ยาแก้ปวดหัว

หวังเป็นอย่างยิ่งว่าข้อมูลในการรับประทานยาแก้ปวดหัว จะช่วยให้ท่านคำนวณปริมาณในการทานยาให้ถูกต้อง เพื่อสุขภาพของท่านในภายภาคหน้า รวมทั้งในบางท่านเมื่อมีอาการปวดหัวมักจะรับประทานยาแก้ปวดหัว เพื่อให้อาการดังกล่าวให้หายได้เพียงครั้งคราวเท่านั้น หากท่านยังมีอาการปวดหัวโดยไม่ทราบสาเหตุเป็นประจำ การทานยาแก้ปวดหัวจึงอาจจะไม่ช่วยให้หายได้อย่างแท้จริง ท่านควรเข้ารับการตรวจหาสาเหตุจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อแก้ปัญหาให้ตรงกับลักษณะอาการปวดหัวอย่างถูกวิธี


Similar Posts