ข้อเข่าเสื่อม

ข้อเข่าเสื่อม สาเหตุเกิดจากอะไร อาการเป็นอย่างไร รักษาหายไหม?

ข้อเข่าเสื่อม

โรคข้อเข่าเสื่อม คือโรคที่หลายๆคนกำลังพบเจอเนื่องจากอายุที่มากขึ้น ทำให้การใช้ชีวิตนั้นลำบากมากขึ้น จึงกำลังหาวิธีรักษา ว่ามีวิธีอะไรที่ช่วยรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมได้หรือ สามารถรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมด้วยตนเองได้หรือไม่ 

ทั้งนี้โรคข้อเข่าเสื่อมนั้น ก็สามารถเกิดขึ้นกับกลุ่มคนที่ยังมีอายุไม่มากได้ หากมีปัจจัยต่างๆเข้ามาเกี่ยวข้อง ดังนั้นการดูแลตนเองตั้งแต่เนิ่นๆ จะช่วยทำให้โอกาสในการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อมเมื่อมีอายุมากขึ้นนั้นลดลงได้เป็นอย่างมาก 


โรคข้อเข่าเสื่อม (Osteoarthritis) คืออะไร

โรคข้อเข่าเสื่อม คือหนึ่งในโรคข้ออักเสบ ที่พบได้บ่อยในกลุ่มของผู้ที่มีอายุ โรคนี้เกิดจากการใช้งานข้อเข่าที่มากขึ้นในทุกๆวัน เนื่องจากข้อเข่านั้น เป็นส่วนที่ต้องรับน้ำหนักของเราโดยตรง ทำให้เกิดภาวะสึกหรอ ที่บริเวณผิวข้อเข่าได้ง่าย 

อาการข้อเข่าเสื่อม อาจเริ่มแสดงอาการเมื่อมีการอักเสบที่มากขึ้น หรืออาจมีปัจจัยอื่น ๆ ที่เข้ามามีส่วนร่วมทำให้มีอาการปวดบริเวณข้อเข่า ซึ่งหากปล่อยไปเรื่อยๆ จะทำให้บริเวณข้อเข่าของเราจะได้รับความเสียหายมากขึ้น จะยิ่งทวีความรุนแรงของอาการปวดมากขึ้นไปอีก ทำให้ในทุกกริยาที่มีการใช้งานข้อเข่ามีอาการเจ็บ อีกทั้งยังมีอาการตึงบริเวณข้อเข่า งอหรือเหยียดได้ไม่สุด ส่งผลให้ใช้ชีวิตประจำวันลำบากมากยิ่งขึ้น

สภาพข้อเข่าเสื่อม

โรคข้อเข่าเสื่อม เกิดจากอะไร

โรคข้าเข่าเสื่อม เป็นโรคอักเสบที่เกิดจากการที่กระดูกอ่อนในข้อเข่าเกิดการสึกหรอ โดยกระบวนการนี้จะเกิดขึ้นอย่างช้าๆแต่จะสมทบตามกาลเวลาที่ผ่านไปเรื่อยๆ นั้นจึงทำให้โรคข้อเข่าเสื่อมนั้น มักเกิดขึ้นในกลุ่มของคุณที่มีอายุสูง โดยจะมีอาการปวดตึงบริเวณข้อเข่า บางรายอาจเกิดอาการบวมได้ 

ปัจจัยที่อาจส่งผลให้เกิดโรคข้อเข่าเสื่อม

โดยโรคข้อเข่าเสื่อมนั้น สามารถเกิดได้จากหลายๆปัจจัย ได้แก่

  • อายุ เนื่องจากโรคข้อเข่าเสื่อมนั้นเกิดจากการใช้งานเข่าเป็นเวลานาน ทำให้กลุ่มผู้ที่มีอายุสูงนั้น มีโอกาสเกิดโรคนี้ได้ง่าย เพราะใช้งานเข่ามาเป็นเวลานานมากแล้ว
  • เพศ โรคข้อเข่าเสื่อมนั้น มีโอกาสเกิดขึ้นในเพศหญิงมากกว่าเพศชายถึง 2 เท่า มีผลมาจากหลายๆปัจจัย เช่น น้ำหนัก, กายวิภาค, ฮอร์โมน เป็นต้น
  • น้ำหนัก กลุ่มผู้ที่มีน้ำหนักมาก จะมีโอกาสเกิดโรคข้อเข่าเสื่อมมากกว่า เนื่องจากข้อเข่าที่รับน้ำหนักของร่างกายโดยตรง ทำงานหนักมากเกินไป
  • พฤติกรรม โดยผู้ที่มีพฤติกรรมการใช้ชีวิตด้วยท่าที่ใช้งานข้อเข่ามากกว่าผู้อื่น จะทำให้มีโอกาสเกิดโรคข้าเข่าเสื่อมได้ง่าย เช่น การนั่งคุกเข่านานๆ การนั่งขัดสมาธินาน หรือการนั่งยองๆนานๆเป็นต้น
  • อุบัติเหตุ หากเคยเกิดอุบัติเหตุบริเวณข้อเข่ามาแล้ว อาจเพิ่มโอกาสการเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมเนื่องจากบริเวณข้อเข่าได้รับความเสียหายมาแล้ว จึงอาจทำให้การอักเสบเกิดขึ้นง่ายกว่าปรกติ
  • ความแข็งแรงของร่างกาย การออกกำลังกายจะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้ข้อเข่าได้เป็นอย่างดี ดังนั้นกลุ่มคนที่ไม่ได้ออกกำลังกาย อาจเกิดโรคข้อเข่าเสื่อมได้ง่ายเนื่องจากข้อเข่านั้นไม่แข็งแรง

กลุ่มผู้เสี่ยงโรคข้อเข่าเสื่อม

กลุ่มที่เสี่ยงเกิดโรคข้อเข่าเสื่อมนั้น ได้แก่กลุ่มผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป เนื่องจากการใช้งานเข่ามาเป็นเวลานาน ทำให้ข้อเข่าเกิดการเสื่อมสภาพตามกาลเวลา สามารถอักเสบได้ง่าย ทั้งนี้โรคข้อเข่าเสื่อมยังเกิดได้ในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย เนื่องจากปัจจัย อื่นๆเช่น น้ำหนัก, กายวิภาค, ฮอร์โมน ที่แตกต่างกัน

กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงออีกกลุ่ม คือกลุ่มของผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากเกินไป ไม่ว่าจะเกิดจากโรคประจำตัวหรือเกิดจากการใช้ชีวิตประจำวัน เนื่องจากน้ำหนักตัวที่มากขึ้น การใช้งานข้อเข่าก็หนักขึ้นเช่นกัน นั้นจึงทำให้เกิดโรคข้อเข่าเสื่อมได้ง่ายกว่า

ปวดข้อเข่าเสื่อม

ข้อเข่าเสื่อมในผู้ที่อายุน้อย

โดยข้อเข่าเสื่อมนั้น ไม่จำเป็นต้องมีอายุมากมายก็สามารถเป็นได้ เนื่องจากหากมีพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่ดีหรือเกิดอุบัติเหตุบริเวณข้อเข่า ก็อาจส่งผลทำให้ร่างกายเสื่อมโทรมก่อนวัยอันควรได้ โดยแบ่งได้ดังนี้

  • ผู้ที่เคยได้รับการบาดเจ็บบริเวณข้อเข่า ทั้งจากการออกกำลังกายและอุบัติเหตุ  ทำให้บริเวณข้อเข่านั้นได้รับความเสียหายมาก่อนแล้ว จึงทำให้สามารถเกิดการอักเสบได้ง่ายกว่าคนที่มีร่างกายปรกติมาก
  • ผู้ที่มีภาวะโรคอ้วน น้ำหนักตัวมากเกินเกณฑ์ เนื่องจากข้อเข่านั้นเป็นจุดที่รับน้ำหนักของร่างกายเราโดยตรง  การที่มีน้ำหนักมากเกินไป จะเป็นการทำให้ข้อเข่านั้นถูกใช้งานมากกว่ากลุ่มคนที่มีน้ำหนักปรกติ เป็นหนึ่งในสาเหตุที่เร่งการเกิดโรคข้าเข่าเสื่อม
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรครูมาตอยด์ เกาท์ โดยโรคที่กล่าวมาข้างต้นนั้น มักมีผลที่จะเร่งการทำลายกระดูกอ่อนบริเวณข้อของเราไปเรื่อยๆ ทำให้สามารถเกิดโรคข้อเข่าเสื่อมได้ง่ายมากยิ่งขึ้น

ข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ

กลุ่มผู้สูงอายุ ตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป เนื่องจากกลุ่มผู้ที่มีอายุมากนั้น ส่วนต่างๆของร่างกายจะเกิดการสึกหรอตามกาลเวลา ทำให้เกิดโรคข้อเข่าเสื่อมได้ง่ายกว่า กลุ่มคนที่มีร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงนั้นเอง


ข้อเข่าเสื่อมมีกี่ระยะ ควรพบแพทย์เมื่อไหร่

โรคข้อเข่าเสื่อมนั้น จะมีทั้งหมด 4 ระยะ ได้แก่

ระยะข้อเข่าเสื่อม

ข้อเข่าเสื่อมระยะแรก

ระยะที่ 1 (Early or Doubtful) ระยะแรก อาจมีอาการปวดเล็กน้อยบริเวณข้อเข่า โดยที่ปวดไม่มาก มีอาการพอที่จะให้เราสงสัยว่า เราเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมหรือยัง ระยะแรกนี้อาจจะมีการเขียนกระดูกอ่อนบริเวณข้อเข่าไปไม่มาก สามารถแก้ไขได้โดยการปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตประจำวันบางอย่าง เช่น ออกกำลังกาย ลดน้ำนหนักลง เล่นโยคะเป็นต้น

ข้อเข่าเสื่อมระยะเริ่มต้น

ระยะที่ 2 (Mild or Minimal) ระยะนี้ อาจจะมีอาการแตกต่างกันไป แต่ส่วนมากมักมีอาการปวดเวลาทำกิจกรรมที่ต้องใช้ข้อเข่า จะมีอาการปวดเป็นระยะเวลาหนึ่ง จากนั้นจะหายไปเอง บางครั้งอาจมีเสียงเกิดขึ้นเมื่อขยับข้อเข่า โดยระยะนี้ อาจทำให้ไม่สามารถยืดขาได้เต็มที่ ทำให้ขาโก่งบ้างในบางราย

หากมีอาการในระยะที่สองนี้ ควรเรารับคำปรึกษากับแพทย์เพื่อหาทางป้องกันต่อไป

ข้อเข่าเสื่อมระยะปานกลาง

ระยะที่ 3 (Moderate) ระยะนี้จะเห็นอาการได้มากขึ้นอย่างชัดเจน โดยจะปวดทุกครั้งที่มีการใช้งานข้อเข่า และจะปวดมากในตอนเช้าหรือหลังจากการนั่งเป็นเวลานาน มีอาการบวมบริเวณเข่าให้เห็นอย่างชัดเจน เนื่องจากกระดูกอ่อนบริเวณข้อเข่านั้นเกิดการสึกหรอมากขึ้น

ข้อเข่าเสื่อมระยะรุนแรง

ระยะที่ 4 (Severe) เป็นระยะที่รุนแรงมากที่สุด เนื่องจากกระดูกอ่อนในข้อเข่านั้น เกิดการสึกหรอมากจนเกินไปหรืออาจเสียหายโดยสมบูรณ์ มีอาการปวดที่รุนแรง ไม่สามารถหายได้เอง ทำให้การทำกิจกรรมที่ต้องใช้ข้อเข่านั้นเป็นไปได้ยากหรือไม่สามารถใช้งานได้เลย 


วิธีวินิจฉัยโรคข้อเข่าเสื่อม

  1. การคัดกรองเบื้องต้น คือ การทำแบบทดสอบเพื่อประเมินอาการของผู้รับบริการทั่วไปที่มีความสงสัยว่าตนเองเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมหรือไม่ หากมีอาการ เข่าติดในตอนเช้า ตอนใช้งานหรือขยับบริเวณเข่าเกิดเสียง เข่ามีรูปร่างผิดปรกติ สามารถทำแบบประเมินอาการข้อเข่าเสื่อมเบื้องต้นได้
  2. การตรวจวินิจฉัยข้อเข่า เช่น การเอกซเรย์ เพื่อหาข้อมูลว่าช่องว่างระหว่างกระดูกของผู้ป่วย มีช่องว่างเกิดขึ้นมากน้อยเพียงใด รวมถึงการตรวจหายสาเหตุอืื่นๆเพิ่มเติม ทั้งนี้อาจมีการสั่งทำ MRI (Magnetic Resonance Imaging) เพิ่มเติม เพื่อให้เห็นภาพของกระดูก เนื้อเยื่อ และกระดูกอ่อนรอบข้อต่อเข่าชัดเจนมากขึ้น 
  3. Knee Scoring เป็นหนึ่งในเครื่องมือการประเมินสำหรับโรคข้อเข่าเสื่อม ซึ่งจะเป็นการประเมินโดยการให้คะแนนตามแบบสอบถามที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อวัดระดับความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อมที่ผู้ป่วยเป็นอยู่

วิธีรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม ไม่ต้องผ่าตัด

รักษาโรคข้อเข่าเสื่อม

การออกกำลังกาย บริหารข้อเข่า

การออกกำลังกายเสริมความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อบริเวณต้นขาและกล้ามเนื้อบริเวณรอบๆเข่า หากกล้ามเนื้อแข็งแรงพอ กล้ามเนื้อบริเวณเข่าจะสามารถช่วยแบ่งเบาการรับน้ำหนักของร่างกายได้ ช่วยลดการใช้งานเข่าได้มาก

การรักษาข้อเข่าเสื่อมโดยการใช้ยา

การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อ สามารถรักษาเบื้องต้นได้โดยการ ใช้ยารักษาโรคข้อเข่าเสื่อม ทั้งแบบรับประทานและแบบทา  โดยยาเหล่านี้ยังแบ่งได้อีกหลายประเภท ตามการใช้งานหรือความต้องการของผู้ใช้งาน

การทำกายภาพบำบัด

เป็นหนึ่งในการรักษาที่ช่วยบรรเทาอาการปวดบริเวณข้อเข่าของผู้ป่วยได้ดี โดยสามารถใช้วิธีต่างๆ เช่น การใช้เลเซอร์รักษาข้อเข่าเสื่อม การทำอัลตราซาว เป็นต้น

การรักษาแบบชีวภาพ 

การรักษาแบบชีวภาพ (Biological Therapy) คือ เทคนิคทางการแพทย์ที่ใช้ในการรักษาอาการผิดปรกติของกระดูกอ่อนและน้ำเลี้ยงข้อเข่าของผู้ป่วย

โดยแบ่งเป็น 2 วิธีคือ 

  1. การฉีดน้ำเลี่ยงข้อเข่า (Hyaluronic acid) เพื่อลดอาการปวดหรืออาการตึกบริเวณข้อเข่าของผู้ป่วย ห
  2. ฉีด PRP (Platelet Rich Plasma)  สารสกัดจากเลือดซึ่งมีความเข้มข้นของเกล็ดเลือดสูงกว่าเกล็ดเลือดของผู้ป่วย ส่งเสริมการเจริญเติบโต ช่วยฟื้นฟูเซลล์ต่างๆในร่างกายบริเวณที่มีอาการบาดเจ็บได้

รักษาโรคข้อเข่าเสื่อมด้วยการผ่าตัด

การผ่าตัดโดยวิธีส่องกล้อง 

การผ่าตัดโดยวิธีส่องกล้อง (Arthroscopic Surgery) คือ การผ่าตัดรูปแบบใหม่ เป็นการสอดกล้องขนาดเล็กเข้าไปบริเวณข้อเข่า เพื่อทำให้เห็นบริเวณภายในชัดเจนมากยิ่งขึ้น เหมาะสำหรับการผ่าตัดกลุ่มผู้ป่วยที่หมอนรองข้อเข่าขาด กระดูกอ่อนแตก ข้อเข่าล็อก หรือ เอ็นข้อเข่าขาด 

การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม 

การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม (Arthroplasty) เป็นการผ่าตัดข้อเข่าทางเลือกสำหรับผู้ป่วย โดยการผ่าตัดข้อเข่าเที่ยม สามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภทได้แก่ ข้อเข่าเทียมแบบทั้งหมด (Total Knee Replacement) และ ผิวข้อเข่าเทียมแบบบางส่วน (Unicompartmental Knee Replacement)


แนวทางการป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อม

โรคข้อเข่าเสื่อมนั้น อาจมีโอกาสเกิดขึ้นกับทุกคนเมื่อมีอายุมากขึ้น ทั้งนี้เรายังสามารถใช้วิธีการต่างๆ เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดฌรคข้อเขาเสื่อมได้ เช่น 

  • การออกกำลังกายเสริมกล้ามเนื้อบริเวณขาหรือรอบเข่า เพื่อแบ่งเบาภาระการรับน้ำหนักของร่างกายออกจากเขา ไปสู่กล้ามเนื้อ ทำให้การใช้งานเขาลดลง เพิ่มระยะเวลาการใช้งาน ชะลอการสึกหรอได้ดี
  • ปรับพฤติกรรมการกิน ลดหรือควบคุมน้ำหนักไม่ให้มากจนเกินไป วิธีนี้ ช่วยลดโอกาสเกิดโรคข้อเข่าเสื่อม อีกทั้งยังช่วยลดโอกาสเกิดโรคต่างๆที่มาจากการกินที่ผิดวิธีหรือน้ำหนักที่มากเกินไปได้อีกด้วย
  • หลีกเลี่ยงการใช้งานข้อเข่าที่มากจนเกินไป เช่น การนั่งพับเพียบนานๆ การนั่งคุกเข่านานๆ หากลดการใช้งานข้อเข่าที่มากเกินจำเป็นไปได้ จะช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดโรคข้อเข่าเสื่อมได้มากอีกด้วย 

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับข้อเข่าเสื่อม

ข้อเข่าเสื่อม รักษาด้วยตัวเองได้ไหม

ข้อเข่าเสื่อมนั้น โดยปรกติแล้วไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถบรรเทาอาการให้เบาลงได้ ดังนั้น หากผู้ป่วยยังมีอาการที่ไม่รุนแรงมาก อาจสามารถรักษาโดยการใช้ยา ทั้งแบบรับประทานและแบบทา เพื่อบรรเทาอาการปวดขั้นต้นได้

อาหารช่วยบำรุงข้อเข่า มีอะไรบ้าง

หากท่านเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม ควรเน้นรับประทานอาหารจำพวกที่มี แคลเซียมสูง ช่วยส่งเสริมความแข็งแรงของกระดูก เช่น ปลา, นม, โยเกิร์ต, กล้วย, ถ้่วอัลมอนด์ เป็นต้น 


ข้อสรุป

ถึงแม้โรคข้อเข่าเสื่อมนั้นอาจไม่ใช้โรคไกลตัว มีโอกาสเกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่ถ้าหากเรามีการเตรียมตัวที่ดี พร้อมกับร่างกายที่แข็งแรง เราก็จะสามารถหลีกเลี่ยงหรือลดโอกาสที่จะเกิดโรคข้อเข่าเสื่อมได้เป็นอย่างมาก โดยเราสามารถปฎิบัติตามคำแนะนำข้างต้น เพื่อป้องกันตนเองจากอาการปวดเข่าเมื่อมีอายุมากขึ้น จะช่วยให้การใช้ชีวิตในช่วงวัยสูงอายุ เป็นไปได้ด้วยดียิ่งขึ้น 


Similar Posts